สมุนไพรสรรพคุณแก้หวัดเเก้ไข้
ร่างกายของคนเราจำเป็นต้องมีการปรับอุณหภูมิให้อยู่ในช่วงที่เหมาะสม ไม่เปลี่ยนแปลงไปมาก เมื่อเปรียบเทียบกับการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิของอากาศภายนอก เพื่อให้การทำงานของร่างกายเป็นไปได้อย่างปกติ ศูนย์ที่ทำหน้าที่ควบคุมอุณหภูมินี้อยู่ในสมองส่วนกลาง ซึ่งศูนย์นี้จะมีหน้าท่ควบคุมอุณหภูมิรับสัญญาณจากบริเวณต่างๆของร่างกาย และคอยควบคุมให้ร่างกายเก็บความร้อน สร้างความร้อนเพิ่มหรือลดความร้อนโดยถ่ายเทความออกไปมากขึ้น อุณหภูมิปกติของคนไม่ได้คงที่ตลอดเวลา มีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยในแต่ละช่วงของวัน โดยเฉพาะในช่วงค่ำ 18.00-20.00 น. อุณหภูมิมักสูงสุดและจะค่อยๆลดลงจนต่ำสุดในเวลาใกล้สว่าง 2.00-4.00 น. และจะเพิ่มสูงขึ้นอีกเช่นนี้ทุกวัน การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิเช่นนี้สังเกตเห็นได้ชัดในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่
ไข้ เป็นอาการที่แสดงถึงความผิดปกติของร่างกาย หมายถึง สภาวะที่อุณหภูมิของร่างกายสูงกว่า 37 องศาเซลเซียส ผู้ป่วยจะรู้สึกไม่สบาย ผิวหนังร้อน โดยเฉพาะบริเวณหน้าผาก ลำตัว ซอกรักแร้และขาหนีบ เป็นต้น ไข้จำแนกตามระดับอุณหภูมิได้เป็น 3 ระดับ คือ
-ไข้ต่ำ อุณหภูมิร่างกายอยู่ระหว่าง 37.0 ํc – 38.9 ํc -ไข้ปานกลาง อุณหภูมิร่างกายอยู่ระหว่าง 38.9 ํc – 39.5 ํc -ไข้สูง อุณหภูมิร่างกายอยู่ระหว่าง 39.5 ํc – 40.0 ํc สาเหตุของไข้มีมากมาย ดังนี้คือ 1.การติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส และโปรโตซัว เช่น ไข้หวัด ไข้มาลาเรีย ไข้จากแผล ฝีหนอง 2.การกระตุ้นจากเหตุผิดปกติบางอย่างในร่างกายที่ไม่ใช่การติดเชื้อ เช่น มะเร็งต่อมน้ำเหลือง 3.ศูนย์ควบคุมอุณหภูมิมิได้รับการกระทบกระเทือนจากความผิดปกติในสมองโดยตรง เช่น เนื้องอกในสมอง เส้นเลือดในสมองแตก 4.ศูนย์ควบคุมอุณหภูมิมิได้รับการกระทบกระเทือนจากเหตุภายนอก เช่น การผ่าตัด การตื่นเต้นสุดขีด เป็นต้น 5.การแพ้ยาหรือเซรุ่ม เช่น ไข้ภายหลังการให้เลือด 6.เหตุอื่นๆ เช่น การออกกำลังกายกลางแดด เป็นต้น การวัดไข้โดยใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า เทอร์โมมิเตอร์ จะช่วยจำแนกความหนักเบาของไข้ได้ง่ายขึ้น ถ้าไม่มีอุปกรณ์ให้ใช้หลังมือสัมผัสหน้าผาก ลำตัว หรือบริเวณอื่นก็พอรู้สึกได้คร่าวๆอาการไข้ที่ควรส่งโรงพยาบาล อาการไข้ ที่เกิดร่วมกับอาการต่อไปนี้จัดเป็นอาการที่เป็นอันตราย ควรส่งโรงพยาบาลโดยเร็ว คือ 1.ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว 2.คอแข็ง ก้มไม่ลง หรือทารกที่มีอาการกระหม่อมโป่งตึง 3.ขากรรไกรแข็ง อ้าปากไม่ค่อยขึ้น 4.กลัวน้ำ 5.ชัก 6.หอบหรือเจ็บหน้าอกรุนแรง 7.ผิวหนังซีดหรือเป็นสีเหลือง หรือมีจุดแดง หรือจ้ำเขียวตามตัว ปวดตามข้อหรือบวม 8.ปวดสีข้าง ปัสสาวะขุ่น
สมุนไพรลดไข้ส่วนใหญ่ จะมีฤทธิ์ลดไข้อย่างเดียว ไม่มีฤทธิ์แก้ปวดควบคู่เหมือนยาแผนปัจจุบัน และพบว่าสมุนไพรจำพวกนี้มักจะมีรสขมรับประทานยาก ทั้งวิธีใช้ส่วนใหญ่เป็นวิธีต้ม ไม่มีการกลบกลิ่น รส แต่อย่างไรก็ดี รสขมนี้สามารถทำให้การหลั่งน้ำลายเพิ่มขึ้น กระตุ้นให้อยากอาหาร มีประโยชน์ต่อผู้ป่วยซึ่งต้องการสารอาหารเพิ่มเสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรงเช่นเดิม สมุนไพรแก้ไข้ควรนำมาใช้กับอาการไข้ปานกลางหรือต่ำ และมีข้อควรระวัง ดังนี้ คือ 1.เป็นอาการไข้ที่ไม่นานเกิน 7 วัน 2.ไม่มีอาการร่วมกับไข้ที่รุนแรง เช่น หนาวสั่นมาก ปวดศีรษะรุนแรง เจ็บหน้าอก หรือปวดท้องรุนแรง 3.ไข้ที่เกิดจากการอักเสบที่ผิวหนัง เช่น แผลผุพอง ฝี นอกจากใช้ยาแก้ไข้ ให้ใช้ยาฆ่าเชื้อ พร้อมกับการทำความสะอาดแผลหรือผ่าฝี เพื่อรักษาสาเหตุ 4.ไม่ควรใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 12 ขวบ เพราะเด็กมีความทนต่อยาต่ำกว่าผู้ใหญ่ 5.ถ้าใช้สมุนไพรแก้ไข้นาน 3-4 วัน อาการคงเดิมหรือเปลี่ยนแปลงไปในทางที่เลวลง ควรเปลี่ยนวิธีการรักษา
สมุนไพรลดไข้ ได้แก่
สมุนไพรลดไข้ ได้แก่
บอระเพ็ด ใช้เถาสดครั้งละ 2 คืบครึ่ง หรือ 30-40 กรัม ตำคั้นเฉพาะน้ำหรือต้มกับน้ำ 3 ส่วนเคี่ยวให้เหลือ 1 ส่วน ดื่มจนหมด วันละ 2 ครั้ง ก่อนอาหารเช้าและเย็น หรือดื่มเมื่อมีอาการ
ชิงช้าชาลี ใช้เถาสดยาว 2 นิ้วต่อครั้ง ต้มน้ำ 3 ส่วน เคี่ยวให้เหลือ 1 ส่วน ดื่มก่อนอาหาร วันละ 1-2 ครั้ง หรือเมื่อมีอาการ
ชิงช้าชาลี ใช้เถาสดยาว 2 นิ้วต่อครั้ง ต้มน้ำ 3 ส่วน เคี่ยวให้เหลือ 1 ส่วน ดื่มก่อนอาหาร วันละ 1-2 ครั้ง หรือเมื่อมีอาการ
ย่านาง ใช้รากแห้งครั้งละ 1 กำมือ (15 กรัม) ต้มน้ำดื่มก่อนอาหาร วันละ 3 ครั้ง ลักกะจั่น ใช้แก่นที่มีสีแดงหรือที่เรียกว่า จันทน์แดง ประมาณ 5-10 ชิ้น (แต่ละชิ้นกว้างยาวประมาณ 2*3 นิ้ว) สับให้มีขนาดเล็กพอประมาณ ต้มกับน้ำ 6 ถ้วย เคี่ยวให้เหลือ 4 ถ้วย แบ่งดื่มครั้งละครึ่งถ้วยเมื่อมีไข้ หรือใช้ยาประสะจันทน์แดงชนิดผง ละลายน้ำสุกครั้งละ 1 ช้อนกาแฟ
ที่มา http://www.samunpri.com/modules.php?…ealth&func=kai
ที่มา http://www.samunpri.com/modules.php?…ealth&func=kai
ร่างกายของคนเราจำเป็นต้องมีการปรับอุณหภูมิให้อยู่ในช่วงที่เหมาะสม ไม่เปลี่ยนแปลงไปมาก เมื่อเปรียบเทียบกับการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิของอากาศภายนอก เพื่อให้การทำงานของร่างกายเป็นไปได้อย่างปกติ ศูนย์ที่ทำหน้าที่ควบคุมอุณหภูมินี้อยู่ในสมองส่วนกลาง ซึ่งศูนย์นี้จะมีหน้าท่ควบคุมอุณหภูมิรับสัญญาณจากบริเวณต่างๆของร่างกาย และคอยควบคุมให้ร่างกายเก็บความร้อน สร้างความร้อนเพิ่มหรือลดความร้อนโดยถ่ายเทความออกไปมากขึ้น อุณหภูมิปกติของคนไม่ได้คงที่ตลอดเวลา มีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยในแต่ละช่วงของวัน โดยเฉพาะในช่วงค่ำ 18.00-20.00 น. อุณหภูมิมักสูงสุดและจะค่อยๆลดลงจนต่ำสุดในเวลาใกล้สว่าง 2.00-4.00 น. และจะเพิ่มสูงขึ้นอีกเช่นนี้ทุกวัน การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิเช่นนี้สังเกตเห็นได้ชัดในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่
ไข้ เป็นอาการที่แสดงถึงความผิดปกติของร่างกาย หมายถึง สภาวะที่อุณหภูมิของร่างกายสูงกว่า 37 องศาเซลเซียส ผู้ป่วยจะรู้สึกไม่สบาย ผิวหนังร้อน โดยเฉพาะบริเวณหน้าผาก ลำตัว ซอกรักแร้และขาหนีบ เป็นต้น ไข้จำแนกตามระดับอุณหภูมิได้เป็น 3 ระดับ คือ
-ไข้ต่ำ อุณหภูมิร่างกายอยู่ระหว่าง 37.0 ํc – 38.9 ํc -ไข้ปานกลาง อุณหภูมิร่างกายอยู่ระหว่าง 38.9 ํc – 39.5 ํc -ไข้สูง อุณหภูมิร่างกายอยู่ระหว่าง 39.5 ํc – 40.0 ํc สาเหตุของไข้มีมากมาย ดังนี้คือ 1.การติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส และโปรโตซัว เช่น ไข้หวัด ไข้มาลาเรีย ไข้จากแผล ฝีหนอง 2.การกระตุ้นจากเหตุผิดปกติบางอย่างในร่างกายที่ไม่ใช่การติดเชื้อ เช่น มะเร็งต่อมน้ำเหลือง 3.ศูนย์ควบคุมอุณหภูมิมิได้รับการกระทบกระเทือนจากความผิดปกติในสมองโดยตรง เช่น เนื้องอกในสมอง เส้นเลือดในสมองแตก 4.ศูนย์ควบคุมอุณหภูมิมิได้รับการกระทบกระเทือนจากเหตุภายนอก เช่น การผ่าตัด การตื่นเต้นสุดขีด เป็นต้น 5.การแพ้ยาหรือเซรุ่ม เช่น ไข้ภายหลังการให้เลือด 6.เหตุอื่นๆ เช่น การออกกำลังกายกลางแดด เป็นต้น การวัดไข้โดยใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า เทอร์โมมิเตอร์ จะช่วยจำแนกความหนักเบาของไข้ได้ง่ายขึ้น ถ้าไม่มีอุปกรณ์ให้ใช้หลังมือสัมผัสหน้าผาก ลำตัว หรือบริเวณอื่นก็พอรู้สึกได้คร่าวๆอาการไข้ที่ควรส่งโรงพยาบาล อาการไข้ ที่เกิดร่วมกับอาการต่อไปนี้จัดเป็นอาการที่เป็นอันตราย ควรส่งโรงพยาบาลโดยเร็ว คือ 1.ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว 2.คอแข็ง ก้มไม่ลง หรือทารกที่มีอาการกระหม่อมโป่งตึง 3.ขากรรไกรแข็ง อ้าปากไม่ค่อยขึ้น 4.กลัวน้ำ 5.ชัก 6.หอบหรือเจ็บหน้าอกรุนแรง 7.ผิวหนังซีดหรือเป็นสีเหลือง หรือมีจุดแดง หรือจ้ำเขียวตามตัว ปวดตามข้อหรือบวม 8.ปวดสีข้าง ปัสสาวะขุ่น
สมุนไพรลดไข้ส่วนใหญ่ จะมีฤทธิ์ลดไข้อย่างเดียว ไม่มีฤทธิ์แก้ปวดควบคู่เหมือนยาแผนปัจจุบัน และพบว่าสมุนไพรจำพวกนี้มักจะมีรสขมรับประทานยาก ทั้งวิธีใช้ส่วนใหญ่เป็นวิธีต้ม ไม่มีการกลบกลิ่น รส แต่อย่างไรก็ดี รสขมนี้สามารถทำให้การหลั่งน้ำลายเพิ่มขึ้น กระตุ้นให้อยากอาหาร มีประโยชน์ต่อผู้ป่วยซึ่งต้องการสารอาหารเพิ่มเสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรงเช่นเดิม สมุนไพรแก้ไข้ควรนำมาใช้กับอาการไข้ปานกลางหรือต่ำ และมีข้อควรระวัง ดังนี้ คือ 1.เป็นอาการไข้ที่ไม่นานเกิน 7 วัน 2.ไม่มีอาการร่วมกับไข้ที่รุนแรง เช่น หนาวสั่นมาก ปวดศีรษะรุนแรง เจ็บหน้าอก หรือปวดท้องรุนแรง 3.ไข้ที่เกิดจากการอักเสบที่ผิวหนัง เช่น แผลผุพอง ฝี นอกจากใช้ยาแก้ไข้ ให้ใช้ยาฆ่าเชื้อ พร้อมกับการทำความสะอาดแผลหรือผ่าฝี เพื่อรักษาสาเหตุ 4.ไม่ควรใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 12 ขวบ เพราะเด็กมีความทนต่อยาต่ำกว่าผู้ใหญ่ 5.ถ้าใช้สมุนไพรแก้ไข้นาน 3-4 วัน อาการคงเดิมหรือเปลี่ยนแปลงไปในทางที่เลวลง ควรเปลี่ยนวิธีการรักษา
สมุนไพรลดไข้ ได้แก่
สมุนไพรลดไข้ ได้แก่
บอระเพ็ด ใช้เถาสดครั้งละ 2 คืบครึ่ง หรือ 30-40 กรัม ตำคั้นเฉพาะน้ำหรือต้มกับน้ำ 3 ส่วนเคี่ยวให้เหลือ 1 ส่วน ดื่มจนหมด วันละ 2 ครั้ง ก่อนอาหารเช้าและเย็น หรือดื่มเมื่อมีอาการ
ชิงช้าชาลี ใช้เถาสดยาว 2 นิ้วต่อครั้ง ต้มน้ำ 3 ส่วน เคี่ยวให้เหลือ 1 ส่วน ดื่มก่อนอาหาร วันละ 1-2 ครั้ง หรือเมื่อมีอาการ
ชิงช้าชาลี ใช้เถาสดยาว 2 นิ้วต่อครั้ง ต้มน้ำ 3 ส่วน เคี่ยวให้เหลือ 1 ส่วน ดื่มก่อนอาหาร วันละ 1-2 ครั้ง หรือเมื่อมีอาการ
ย่านาง ใช้รากแห้งครั้งละ 1 กำมือ (15 กรัม) ต้มน้ำดื่มก่อนอาหาร วันละ 3 ครั้ง ลักกะจั่น ใช้แก่นที่มีสีแดงหรือที่เรียกว่า จันทน์แดง ประมาณ 5-10 ชิ้น (แต่ละชิ้นกว้างยาวประมาณ 2*3 นิ้ว) สับให้มีขนาดเล็กพอประมาณ ต้มกับน้ำ 6 ถ้วย เคี่ยวให้เหลือ 4 ถ้วย แบ่งดื่มครั้งละครึ่งถ้วยเมื่อมีไข้ หรือใช้ยาประสะจันทน์แดงชนิดผง ละลายน้ำสุกครั้งละ 1 ช้อนกาแฟ
ที่มา http://www.samunpri.com/modules.php?…ealth&func=kai
ที่มา http://www.samunpri.com/modules.php?…ealth&func=kai
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น