ยาแผนโบราณดีกว่ายาฝรั่งยังไง
สมุนไพร ได้มีการใช้เป็นยามามากกว่า 3,000 ปี นับตั้งแต่บรรพบุรุษชาวจีนที่มีการใช้สมุนไพรพื้นบ้านมารักษาโรค กระนั้นไม่ใช่มีแต่เพียงประเทศจีนประเทศเดียวเท่านั้นที่ได้นำภูมิปัญญาเหล่านี้มาใช้ ประเทศไทยเองก็เช่นกัน บรรพบุรุษชาวไทยของเราได้มีการนำสมุนไพรมาใช้ในการบรรเทาและรักษาโรค ร่วมด้วยกับการนวด และปรับวิธีการรับประทานอาหารและความเป็นอยู่ ซึ่งเรียกการรักษาแบบนี้ว่าการรักษาแบบองค์รวม (Holistic Medical Treatment) แต่ในตอนนี้เราจะกล่าวถึงสมุนไพรแต่เพียงอย่างเดียว
ประเทศไทย ซึ่งเป็นประเทศที่กำลังพัฒนา ประชาชนในชนบทจะใช้สมุนไพรในการรักษาและบรรเทาอาการเจ็บป่วย ยังมีคนในชนบทอีกเป็นจำนวนมากที่ยังไม่รู้จักยาที่ทำหรือสังเคราะห์ขึ้นมาจากสารเคมี คนเหล่านั้นยังคงต้องอาศัยยาสมุนไพรแผนโบราณเพื่อรักโรคษากันอยู่ ยาสมุนไพรจึงมีบทบาทสำคัญเพราะถือเป็นภูมิปัญญาประจำชาติและเป็นอีกทางเลือกหนึ่งให้กับผู้ป่วยที่ยาแผนปัจจุบันไม่สามารถทำให้อาการของคนเหล่านั้นดีขึ้นได้ และผลข้างเคียงที่พึงจะได้รับก็คือ ความเสี่ยงต่อตับและไตในระยะยาว
ยาแผนโบราณโดยส่วนใหญ่จะมีผลข้างเคียงและอันตรายน้อยกว่ายาแผนปัจจุบัน เพราะทำขึ้นจากธรรมชาติ สกัดจากพืช สัตว์ และแร่ธาตุ ไม่มีตัวยาที่สังเคราะห์ขึ้นจากสารเคมี อาการข้างเคียงก็น้อยกว่า การแพ้ยาก็น้อยกว่า แต่คนโดยส่วนมากใจร้อน อยากหายเร็ว เช่นทานเดี๋ยวนี้ ก็หวังว่าจะต้องหายวันนี้หรือพรุ่งนี้ ผลข้างเคียงไม่กลัว เอาให้หายก่อน หารู้ไม่ว่ายาแผนปัจจุบันยิ่งทานมาก ภูมิคุ้มกันยิ่งต่ำลง และถ้ายิ่งทานไปเรื่อยๆ ผู้ป่วยจะต้องเพิ่มโดสหรือปริมาณยาที่แรงขึ้น แต่กระนั้นก็ยังมีคนอีกบางกลุ่มที่ใส่ใจกับสุขภาพในระยะยาว อดทนรอได้ ให้ร่างกายค่อยๆปรับสภาพ ค่อยๆสร้างภูมิคุ้มกันและสามารถรักษาตัวเองให้หายได้ในที่สุด การรักษาด้วยยาแผนโบราณก็เปรียบเสมือนการทานอาหารจากธรรมชาติ เพราะยาแผนโบราณจะมีส่วนผสม เช่น พริกไทย กระวาน กานพลู ขิง ดีปลี ลูกจันทน์ ดอกจันทน์ เกสรดอกไม้ น้ำผึ้ง เป็นต้น ซึ่งก็เป็นเครื่องเทศปรุงผสมอาหารประจำวันที่คนไทยเรานิยมทานกันอยู่แล้ว
แต่ถ้าเป็นโรคฉุกเฉิน เช่น โรคติดเชื้อ และโรคที่มีอาการรุนแรงแบบเฉียบพลัน เช่น บาดทะยัก โรคพิษสุนัขบ้า ประสบอุบัติเหตุ ฯลฯ หมอปัจจุบันและยาแผนปัจจุบันควรเป็นทางเลือกที่เหมาะสมกว่า
ยาสมุนไพรคืออะไร
ตามพระราช บัญญัติยา (พ.ศ.2510) ได้ให้ความหมายว่า ยาสมุนไพรคือ ยาที่ได้จากพฤกษชาติ สัตว์ หรือ แร่ ซึ่งมิได้ผสม ปรุง หรือแปร สภาพ ยาสมุนไพรนั้นมีมานานแล้วตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันมีการกล่าวขานบันทึกเรื่องราวและใช้สืบทอดกันมา สมุนไพรเป็น ยารักษาโรคที่ได้ตามธรรมชาติหาได้ง่าย ใช้รักษาได้ผลดี มีพิษน้อย และสมุนไพรหลายชนิด เราก็ใช้เป็นอาหารประจำวัน อยู่แล้ว เช่น ขิง ข่า กระเทียม ตะไคร้ กระเพรา เป็นต้น ชีวิตประจำวันเราผูกพันกับสมุนไพรทั้งในรูปของอาหารและเป็นยารักษาโรค พืชแต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติหรือสรรพคุณในการรักษาแตกต่างกันตามส่วนต่าง ๆ ของพืช ดังนั้น เราจึงต้อง มาทำความรู้จักกับส่วนประกอบของพืชสมุนไพรกันเสียก่อนว่าในแต่ละส่วนนั้นมีอะไรบ้างและใช้ประโยชน์ได้อย่างไร
ส่วนประกอบของพืชสมุนไพร
1. ราก : จะมีหน้าที่สะสมและดูดซึมอาหารมาเลี้ยงบำรุงต้นพืช ลักษณะของรากมีทั้งรากแท้และรากฝอย การสัง เกตรากนั้นควรดูทั้งรากสดและรากแห้ง ลักษณะภายนอกขนาดของราก ความเปราะของเนื้อราก สี กลิ่น รสของราก การที่จะจำแนกราก สมุนไพรต้องใช้ความชำนาญ พืชสมุนไพรทั่วไปเราจะสังเกตอย่างคร่าว ๆ และจดจำไว้แต่ถ้า สมุนไพรที่ใช้รากมาทำยาจำเป็นต้องสังเกตอย่างละเอียด เพื่อที่จะไม่เก็บสมุนไพรผิดต้นไปรักษาโรค สมุนไพรส่วน ที่ใช้ราก เช่น กระชาย แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ ปลาไหลเผือก แก้ไข้ มะละกอ ใช้ขับปัสสาวะ เป็นต้น
2. ลำต้น : เป็นโครงค้ำที่สำคัญของพืช ปกติเกิดบนดินหรือมีบางส่วนอยู่ใต้ดิน จะประกอบด้วยตา ข้อ และปล้อง ซึ่งจะ แบ่งตามลักษณะภายนอก เช่น ประเภทไม้ยืนต้นไม้พุ่มประเภทหญ้า ประเภทไม้เลื้อย เป็นต้น การสังเกตลำต้น ดูว่า ลำตันของพืชมีลักษณะเป็นอย่างไร ลักษณะตา ข้อ และปล้อง เป็นอย่างไร แตกต่างจากลำต้นของ ต้นพืชอื่นอย่างไร สมุนไพรส่วนที่ใช้ลำต้นเป็นยา เช่น อ้อยแดง ใช้แก้อาการขัดเบา ชิงช้าชาลี บอระเพ็ด ใช้แก้ไข้ เป็นต้น
3. ใบ : เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของพืช สังเกตรูปร่างของใบ ปลาย ริม เส้น และเนื้อของใย อย่างละเอียด และอาจ เปรียบเทียบลักษณะของใบที่คล้ายคลึงกันจะทำให้จำแนกใบได้ชัดเจนยิ่งขึ้น สมุนไพรที่ใช้ใบเป็นยา เช่น กระเพรา ใช้ได้ทั้งใบสดหรือใบแห้งแก้ปวดท้อง ท้องขึ้นจุกเสียด ขี้เหล็ก รักษาอาการท้องผูก ใบชุมเห็ดเทศ ขยี้หรือ ตำในครก ให้ละเอียดเติมน้ำเล็กน้อย ใชัรักษาโรคกลากได้
4. ดอก : ส่วนประกอบของดอกมีความแตกต่างกัน สังเกตลักษณะอย่างละเอียด เช่น กลีบดอกจำนวนกลีบดอก การ เรียงตัวของกลีบดอก รูปร่างของกลีบดอก สีกลิ่น เป็นต้น ส่วนของดอกที่ใช้เป็นยา เช่น กานพลู น้ำมันหอมระเหย ในดอกกานพลู มีฤทธิ์ขับลมฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ฤทธิ์ขับพยาธิ ดีปลี แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ เป็นต้น
5. ผล : ผลที่เป็นยา เช่น มะเกลือ ดีปลี มะแว้งต้น กระวาน เป็นต้น สังเกตลักษณะผลทั้งภายนอกและภายใน นอกจาก ผลไม้เมล็ดภายในผลยังอาจเป็นยาได้อีก เช่น สะแกฟักทอง ฉะนั้นในการสังเกตลักษณะของผล ควรสังเกตลักษณะ รูปร่างของเมล็ดไปพร้อมกันด้วย
ส่วนประกอบของพืชสมุนไพรนั้น เราสามารถนำมาใช้ได้ทุกส่วน ตัวยาในพืชสมุนไพรนั้น จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่ กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น คำนึงถึงชนิดของยาว่าถูกต้องหรือไม่ ส่วนไหนของพืชที่ใช้เป็นยา ราก ลำต้น ใบ ดอก หรือผล พื้นดินที่ปลูก อากาศ การเก็บในช่วงระยะเวลาที่เหมาะสม การเลือกเก็บยาอย่างถูกวิธีนั้น ก็จะมีผลต่อคุณภาพหรือฤทธิ์ ของยาที่จะนำมารักษาโรคด้วย เราจึงต้องมีหลักเกณฑ์ในการเก็บสมุนไพรอย่างถูกวิธีเพื่อให้ได้ยาที่มีคุณภาพ
ข้อมูลอ้างอิง
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น