บทความที่ได้รับความนิยม
-
สมุนไพรเผาผลาญไขมัน ลูกยอสกัดที่มีส่วนผสมของสมุนไพร 15 ชนิด (ชนิดแคปซูล สะดวก รับประทานง่าย) เป็นยาที่คัดสรรมาเพื่อสำหรับแก้ธาตุไฟหย่อน...
-
สมุนไพรสรรพคุณยาอายุวัฒนะ บทความ เนื้อเรื่อง หรือ คำอธิบาย โดยละเอียดในจำนวนว่านยาทั้งหมด มีพืชอยู่ชนิดหนึ่ง ที่ท่านขุนพันธ์ ท่านใช้รั...
-
สมุนไพรดองเหล้าคืออะไร ถ้าว่ากันตามตำรา " หมอเมือง " หรือผู้มีภูมิรู้ด้านการแพทย์แผนไทย ก็อธิบายได้ว่า เหล้าหรือแอลกอฮอล์เป็นสา...
วันเสาร์ที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2555
ต้มสมุนไพรจีนอย่างไร
ต้มสมุนไพรจีนอย่างไร
การต้มสมุนไพรจีนนี่ก็ไม่ต่างจากการต้มยาไทยมากนักครับ คือใช้ไฟอ่อนเเละ มีขั้นตอนเเต่ละตัวสมุนไพรเท่านั้นครับ ยาบางตัวต้องผ่านน้ำก่อนซัก 1 ครั้งก็เหมือนกับการกินชาเเหละครับ ไม่ต่างกันมากครับ ลองดูครับ
การต้ม (Decotion) คือ วิธีการทั่วไปในการสกัดสารสำคัญจากสมุนไพรจีน ในบทความนี้ เราจะแนะนำวิธีการต้มสมุนไพรให้ออกมาได้ประโยชน์สูงสุดกันนะครับ
การต้มสมุนไพร ควรใช้ภาชนะที่ไม่ทำปฏิกริยากับสมุนไพร เช่น กระเบื้องเคลือบ , หม้อเคลือบ หรือหม้อสแตนเลส ซึ่งในปัจจุบันมีหม้อต้มไฟฟ้าที่ผลิตจากกระเบื้องเคลือบ หรือสแตนเลส หลากหลายรูปแบบเพื่อให้ผู้บริโภคได้เลือกใช้งานตามความสะดวก
มีขั้นตอนหรือหลักเกณฑ์ง่ายในการต้มสมุนไพรจีน ดังนี้:
เติมน้ำสะอาดให้ท่วมยา สักประมาณ 1 – 2 นิ้ว แช่ยาไว้สัก 20 – 30 นาที ( เพื่อให้สมุนไพรดูดซับน้ำก่อน)
กรณีต้มด้วยเตาแก๊ส - ต้มจนเดือดแล้วหรี่ไฟอ่อนๆ ต้มต่ออีก 20 – 40 นาที แล้วแต่ชนิดของสมุนไพร
ส่วนหม้อต้มไฟฟ้า - ก็กดปุ่มต้มตามวิธีของหม้อต้มชนิดนั้นๆ พอถึงเวลาไฟก็จะตัดเอง
เมื่อได้น้ำยาสมุนไพรแล้ว เทใส่ภาชนะพักไว้สักครู่
ยาสมุนไพร 1 ชุด สามารถต้มได้ 2-3 เที่ยว แล้วเทน้ำยารวมกัน แบ่งรับประทานได้ 2 เวลา
ข้อแนะนำในการต้มสมุนไพรจีน
สมุนไพรบางอย่างควรต้มก่อน เช่น แร่ , เปลือกหอย , กระดองเต่า เนื่องจากยาเหล่านี้อัดแน่น และแข็ง การสกัดยาค่อนข้างยาก ยาเหล่านี้ควรต้มก่อน 15 นาที แล้วจึงต้มสมุนไพรที่เหลือต่อไป
สมุนไพรบางอย่างควรต้มภายหลังสมุนไพรอื่นๆ ได้แก่ สมุนไพรกลิ่นหอมระเหย ซึ่งสารสำคัญระเหยง่าย และสูญเสียง่าย ดังนั้นสมุนไพรเหล่านี้ควรใส่หลังจากต้มยาอื่นๆจนเดือดแล้ว 5 – 15 นาที แล้วต้มต่ออีก 5 นาที ตัวอย่างสมุนไพรเหล่านี้ได้แก่ ปอห่อ (Bohe) ซัวยิ้ง (Sharen) และตั่วอึ้ง (Dahuang)
สมุนไพรหลายๆชนิดควรใส่ถุงผ้า โดยเฉพาะยาที่เป็นผง ลักษณะเบา ปกคลุมด้วยขนอ่อนนุ่ม หรือเป็นเมือกเหนียว
สมุนไพรบางอย่างควรต้มแยก โดยเฉพาะสมุนไพรมีราคาสูง ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะใช้ปริมาณน้อย เช่น โสม (Renshen) , เขากวางอ่อน (Lurong) , ตังฉั่งแห่เช่า (Dongchong Xiacao) เมื่อได้สารสกัดแล้วสามารถแยกดื่ม หรือรวมกับน้ำยาสมุนไพรที่ต้มแล้วได้
สมุนไพรบางอย่างควรจะบดเป็นผงก่อน แล้วจึงผสมน้ำดื่ม เนื่องจากสมุนไพรเหล่านี้ไม่เหมาะที่จะนำไปต้ม เช่น ซาชิก (Sanqi)
สมุนไพรบางชนิดควรละลายน้ำร้อนหรือละลายยาร้อน แล้วจึงดื่ม เช่น อากา (Ejiao)
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น