บทความที่ได้รับความนิยม

วันจันทร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2555

สมุนไพรภาคใต้ที่สรรพคุณทางยา


สมุนไพรภาคใต้ที่สรรพคุณทางยา
ชื่ออื่น ผักกาดนกเขา มีชื่อเรียกแตกต่างกันหลายชื่อ เช่น ภาคกลาง เรียกว่าหางปลาช่อน ภาคอีสานเรียก ผักลิ้นปี่ ภาคเหนือเรียก ผักบั้ง
ผักกาดนกเขาเป็นผักพื้นบ้านชนิดหนึ่งที่คนทั่วไป นิยมนำมาใช้บริโภคเป็นอาหาร เช่นนำมาประกอบเป็นแกงเผ็ดประเภทแกงพุงปลา (แกงไตปลา) แกงส้ม(แกงเหลือง) และบริโภคเป็นผักเหนาะสำหรับแกล้มแกงเผ็ดและขนมจีน เป็นต้น
ลักษณะของใบ ใบของผักกาดนกเขา มีลักษณะยาวปลายมน ขอบใบโค้งหยักเล็กน้อย เป็นประเภทใบเดี่ยวเกิดสลับตำแหน่ง-ตรงกันข้าม มีขนอ่อนๆปกคลุมทั่วใบ ก้านใบห่อหุ้มลำต้น หลังใบมีสีเขียวเข้ม ท้องใบมีสีม่วงแดง ส่วนก้านใบและยอดสีเขียวนวล
ลักษณะของดอก ดอกของผักกาดนกเขามีลักษณะ เป็นช่อ ออกปลายยอด ก้านช่อดอกยาว และมีใบเล็ก ๆ ที่ก้านช่อดอก กลีบเลี้ยงยาวเกือบปิดกลีบดอก มีสีเขียว ส่วนกลีบดอกสีม่วงอมชมพูมีเกสรสีขาวฟูเป็นฝอยฝอยคล้ายพู่
ลักษณะของเมล็ด ผักกาดนกเขามี เมล็ดขนาดเล็ก ลักษณะแบนรี สีน้ำตาล อมดำ ตรงปลายมีขนสีขาว และปลิวตามลมได้ง่าย
ประโยชน์ของผักกาดนกเขา
ผักกาดนกเขา เป็นพืชที่มีรสจืดเย็น สามารถใช้ประโยชน์ได้ดังนี้
1.)ประโยชน์ทางอาหาร ยอดอ่อน ใบอ่อนกินเป็นผักเหนาะ จิ้มน้ำพริก แกงเลียง แกงคั่วพริกกับปลาย่าง
2.)ทางยา ในทางการแพทย์พื้นบ้านนิยมใช้เป็นยาสมุนไพรรักษาโรคหลายประการ ดังนี้
2.1)ใช้ลำต้นตำให้แหลกคั่นน้ำดื่มเป็นยา แก้เจ็บคอ รักษาโรค บิด และ ท้องร่วง
2.2)ใช้ทั้งต้นตำให้แหลกพอกหัวฝี และใช้ทาแก้อาการผื่นคัน
2.3) ใช้รากตำให้แหลกคั่นเอาน้ำดื่ม แก้ตานซางขโมยในเด็ก
ที่มา http://www.kontaiclub.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น