บทความที่ได้รับความนิยม

วันเสาร์ที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ต้มสมุนไพรจีนอย่างไร


ต้มสมุนไพรจีนอย่างไร

การต้มสมุนไพรจีนนี่ก็ไม่ต่างจากการต้มยาไทยมากนักครับ คือใช้ไฟอ่อนเเละ มีขั้นตอนเเต่ละตัวสมุนไพรเท่านั้นครับ ยาบางตัวต้องผ่านน้ำก่อนซัก 1 ครั้งก็เหมือนกับการกินชาเเหละครับ ไม่ต่างกันมากครับ ลองดูครับ



การต้ม (Decotion) คือ วิธีการทั่วไปในการสกัดสารสำคัญจากสมุนไพรจีน ในบทความนี้ เราจะแนะนำวิธีการต้มสมุนไพรให้ออกมาได้ประโยชน์สูงสุดกันนะครับ

การต้มสมุนไพร  ควรใช้ภาชนะที่ไม่ทำปฏิกริยากับสมุนไพร  เช่น  กระเบื้องเคลือบ , หม้อเคลือบ  หรือหม้อสแตนเลส ซึ่งในปัจจุบันมีหม้อต้มไฟฟ้าที่ผลิตจากกระเบื้องเคลือบ หรือสแตนเลส หลากหลายรูปแบบเพื่อให้ผู้บริโภคได้เลือกใช้งานตามความสะดวก

มีขั้นตอนหรือหลักเกณฑ์ง่ายในการต้มสมุนไพรจีน ดังนี้:

เติมน้ำสะอาดให้ท่วมยา  สักประมาณ 1 – 2 นิ้ว แช่ยาไว้สัก  20 – 30 นาที ( เพื่อให้สมุนไพรดูดซับน้ำก่อน)
กรณีต้มด้วยเตาแก๊ส  -  ต้มจนเดือดแล้วหรี่ไฟอ่อนๆ  ต้มต่ออีก  20 – 40 นาที  แล้วแต่ชนิดของสมุนไพร
ส่วนหม้อต้มไฟฟ้า   -  ก็กดปุ่มต้มตามวิธีของหม้อต้มชนิดนั้นๆ  พอถึงเวลาไฟก็จะตัดเอง
เมื่อได้น้ำยาสมุนไพรแล้ว  เทใส่ภาชนะพักไว้สักครู่
ยาสมุนไพร 1 ชุด สามารถต้มได้ 2-3 เที่ยว  แล้วเทน้ำยารวมกัน  แบ่งรับประทานได้ 2 เวลา

ข้อแนะนำในการต้มสมุนไพรจีน
สมุนไพรบางอย่างควรต้มก่อน  เช่น  แร่ , เปลือกหอย , กระดองเต่า  เนื่องจากยาเหล่านี้อัดแน่น  และแข็ง  การสกัดยาค่อนข้างยาก  ยาเหล่านี้ควรต้มก่อน  15 นาที  แล้วจึงต้มสมุนไพรที่เหลือต่อไป

สมุนไพรบางอย่างควรต้มภายหลังสมุนไพรอื่นๆ ได้แก่ สมุนไพรกลิ่นหอมระเหย ซึ่งสารสำคัญระเหยง่าย และสูญเสียง่าย ดังนั้นสมุนไพรเหล่านี้ควรใส่หลังจากต้มยาอื่นๆจนเดือดแล้ว 5 – 15 นาที แล้วต้มต่ออีก 5 นาที ตัวอย่างสมุนไพรเหล่านี้ได้แก่ ปอห่อ (Bohe) ซัวยิ้ง (Sharen) และตั่วอึ้ง (Dahuang)

สมุนไพรหลายๆชนิดควรใส่ถุงผ้า โดยเฉพาะยาที่เป็นผง ลักษณะเบา ปกคลุมด้วยขนอ่อนนุ่ม หรือเป็นเมือกเหนียว

สมุนไพรบางอย่างควรต้มแยก โดยเฉพาะสมุนไพรมีราคาสูง ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะใช้ปริมาณน้อย เช่น โสม (Renshen) , เขากวางอ่อน (Lurong) , ตังฉั่งแห่เช่า (Dongchong Xiacao) เมื่อได้สารสกัดแล้วสามารถแยกดื่ม หรือรวมกับน้ำยาสมุนไพรที่ต้มแล้วได้

สมุนไพรบางอย่างควรจะบดเป็นผงก่อน แล้วจึงผสมน้ำดื่ม เนื่องจากสมุนไพรเหล่านี้ไม่เหมาะที่จะนำไปต้ม เช่น ซาชิก (Sanqi)

สมุนไพรบางชนิดควรละลายน้ำร้อนหรือละลายยาร้อน แล้วจึงดื่ม เช่น อากา (Ejiao)

วันพฤหัสบดีที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2555

แตงกวาอาหารของผิว

แตงกวาอาหารของผิว

          เพราะอุดมไปด้วย วิตามินซี แคลเซียม ซิลิก้า และโปแทสเซียม แตงกวาจึงทำให้ผิวกระจ่างใส เส้นผมเป็นมันเงา เล็บแข็งแรง และช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เพื่อสุขภาพผิวที่ดี มาทำโทนเนอร์แตงกวากระชับรูขุมขนใช้เองดีกว่า นำแตงกวาครึ่งลูก ถั่วเฮเซลนัท 1 ช้อนโต๊ะ น้ำแร่ 1 ช้อนโต๊ะใส่ในเครื่องปั่นอาหาร นำส่วนผสมที่ได้มากรองด้วยผ้าขาวบางคั้นเอาแต่น้ำ ทาให้ทั่วใบหน้า ทิ้งไว้ประมาณ 5 นาทีแล้วล้างออกโทนเนอร์ส่วนที่เหลือให้นำไปแช่ตู้เย็น เก็บได้ประมาณ 3 วัน



 ผิวไหม้เนื่องจากถูกแดดเผา

          บรรเทาอาการแสบผิวด้วยโลชั่นแตงกวาสูตรเย็นต่อไปนี้ดูสิ ผสมน้ำแตงกวาคั้น (เลือกลูกใหญ่ ๆ ) กับกลีเซอรีนครึ่งช้อนชา ทาบริเวณที่ถูกแดดเผา โลชั่นจะช่วยให้ผิวเย็นและเพิ่มน้ำหล่อเลี้ยง ทั้งนี้เพราะแตงกวามีคุณสมบัติลดการอักเสบและคืนความชุ่มชื่นให้ผิว



 แสบเคืองตาใช่ไหม? 

          ถ้ามีอาการเคืองตา ตาบวมให้ใช้แตงกวาแช่เย็นหั่นเป็นแว่นวางบนตาประมาณ 10 นาที โดยให้นอนพักสายตาในห้องมืด เนื่องจากแตงกวามีวิตามินและเกลือแร่สูง ซึ่งจะช่วยฟื้นฟูดวงตาให้กลับสดชื่นมีชีวิตชีวา

 ล้างพิษด้วยน้ำแตงกวา

          ถ้าคุณกำลังคิดจะทำดีท็อกซ์ ลองน้ำแตงกวาดูสิ เพราะมีสรรพคุณช่วยขับปัสสาวะ และสารพิษต่าง ๆ ออกจากร่างกาย มีคุณสมบัติเป็นยาระบาย ด้วยรสชาติที่นุ่มนวลของแตงกวา จึงเหมาะที่จะนำมาผสมกับน้ำผลไม้ชนิดอื่น เริ่มต้นวันใหม่ของคุณด้วยเครื่องดื่มสูตรล้างพิษ และเพิ่มความกระปรี้กระเปร่าต่อไปนี้ : แตงกวา 1 ผล คั้นเอาแต่น้ำ ใส่ขิงหั่นเป็นแว่นขนาดครึ่งนิ้วลงไป ดื่มทันที

วันจันทร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2555

สมุนไพรสรรพคุณรักษาไต

สมุนไพรสรรพคุณรักษาไต

       คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิจัยนำเห็ดหลินจือมารักษาไตเรื้อรัง ระบุเห็ดหลินจือ ช่วยฟื้นฟูการทำงานของไต ทางเลือกใหม่แทนกินยากดภูมิคุ้มกัน แพทย์จุฬาฯศึกษากลไกการเกิดภาวะไตวายในร่างกาย พร้อมสร้างทางเลือกใหม่รักษาโรคไตเรื้อรังด้วยสารสกัดเห็ดหลินจือ เผยผลทดสอบเบื้องต้นช่วยผู้ป่วยกลับสู่ภาวะปกติ ระบุสรรพคุณสร้างสมดุลให้ระบบภูมิคุ้มกัน ลดอาการไตอักเสบ ภาวะไข่ขาวรั่วในปัสสาวะ แถมยังเพิ่มประสิทธิภาพระบบไหลเวียนโลหิตและเพิ่มสมรรถภาพการทำงานของไต



       รศ.พญ.ดร. นริสา ฟูตระกูล ภาควิชาสรีรวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า ทีมวิจัยค้นพบวิธีรักษาผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังเนฟโฟรสิส ชนิด focal segmental sclerosis ที่ไม่สามารถรักษาได้ด้วยยากดภูมิคุ้มกัน เช่น สเตียรอยด์ โดยเปลี่ยนให้รับประทานสารสกัดจากเห็ดหลินจือวันละ 750 - 1,000 มิลลิกรัม ควบคู่กับการให้ยาขยายหลอดเลือด พบว่า ช่วยฟื้นฟูระบบการทำงานของไตให้ดีขึ้น อีกทั้งภาวะเนื้อไตตายลดลงอย่างชัดเจน

       หลังจากทำวิจัยแล้วพบว่า สาเหตุมาจากสารพิษในเลือด สารอนุมูลอิสระ และการเสียสมดุลของระบบภูมิคุ้มกัน ที่ทำให้สารซัยโตคายน์เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อเซลล์บุผิวหลอดเลือด ทำให้เกิดการหดรัดตัวของหลอดเลือดเพิ่มมากขึ้น จนเกิดความดันภายในไตเพิ่มสูงขึ้น และทำให้ไตเกิดภาวะขาดเลือด เกิดเนื้อไตตายได้



        นัก วิจัย กล่าว ทั้งนี้ ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังเนฟโฟรสิส ชนิด focal segmental sclerosis จะมีอาการเนื้อตัวบวมอย่างเห็นได้ชัด และหากตรวจเลือดและปัสสาวะจะพบภาวะไข่ขาวรั่วในปัสสาวะมากกว่า 3.5 กรัมต่อวัน ส่งผลให้โปรตีนในเลือดต่ำ ปริมาณการหมุนเวียนในเลือดไม่เพียงพอ เลือดในร่างกายพร่อง ข้นหนืด ก่อให้เกิดการอุดตัน และยังมีภาวะเผาผลาญไขมันผิดปกติ ไขมันในเลือดสูง ภาวะต่างๆ เหล่านี้ ทำให้ไตมีการอักเสบ เสื่อม และถูกทำลายจนเข้าสู่ภาวะไตวายในท้ายที่สุด

       หลัง จากเข้าใจถึงกลไกของสาเหตุโรคไตแล้ว รศ.พญ.ดร.นริสาจึงได้นำเอาสารสกัดจากเห็ดหลินจือ (Ganoderma lucidum) มาทดลองกับผู้ป่วย เนื่องจากมีสรรพคุณในการช่วยฟื้นฟูระบบสมดุลของภูมิคุ้มกัน พร้อมทั้งยังได้รักษาร่วมกับการใช้ยาขยายหลอดเลือดด้วย

       รศ.พญ.ดร. นริสา ฟูตระกูล ภาควิชาสรีรวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า ทีมวิจัยค้นพบวิธีรักษาผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังเนฟโฟรสิส ชนิด focal segmental sclerosis ที่ไม่สามารถรักษาได้ด้วยยากดภูมิคุ้มกัน เช่น สเตียรอยด์ โดยเปลี่ยนให้รับประทานสารสกัดจากเห็ดหลินจือวันละ 750 - 1,000 มิลลิกรัม ควบคู่กับการให้ยาขยายหลอดเลือด พบว่า ช่วยฟื้นฟูระบบการทำงานของไตให้ดีขึ้น อีกทั้งภาวะเนื้อไตตายลดลงอย่างชัดเจน

       หลังจากทำวิจัยแล้วพบว่า สาเหตุมาจากสารพิษในเลือด สารอนุมูลอิสระ และการเสียสมดุลของระบบภูมิคุ้มกัน ที่ทำให้สารซัยโตคายน์เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อเซลล์บุผิวหลอดเลือด ทำให้เกิดการหดรัดตัวของหลอดเลือดเพิ่มมากขึ้น จนเกิดความดันภายในไตเพิ่มสูงขึ้น และทำให้ไตเกิดภาวะขาดเลือด เกิดเนื้อไตตายได้

        สำหรับ อาสาสมัครที่เข้ารับการรักษา เป็นผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่มีอาการไข่ขาวรั่วในปัสสาวะต่อเนื่อง 5 - 10 ปี กำลังอยู่ในภาวะไตเสื่อมถอยลงอย่างช้าๆ และไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยากดภูมิคุ้มกัน หลังจากรักษาได้ราว 1 ปี พบว่าภาวะเสียสมดุลของระบบภูมิคุ้มกันเข้าสู่ระดับปกติ ผู้ป่วยมีการทำงานของไตดีขึ้น ภาวะไข่ขาวรั่วในปัสสาวะลดลง และสามารถฟื้นฟูสมรรถภาพของไตให้ดีขึ้นกว่าเดิมได้

        "ปริมาณ ของสารสกัดจากเห็ดหลินจือที่มีคุณสมบัติในการรักษาได้นั้น จะอยู่ประมาณ 750 - 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน โดยต้องใช้ร่วมกับยาขยายหลอดเลือด ซึ่งจะเข้าไปช่วยฟื้นฟูกลศาสตร์ไหลเวียนของไตให้ดีขึ้น เพราะเลือดจะไหลเข้าสู่ไตได้มากขึ้น ทำให้ความดันภายในไตลดลง"

        นอก จากนี้การบริโภคสารสกัดเห็ดหลินจือในปริมาณดังกล่าวยังไม่ก่อให้เกิดอันตราย หรือผลข้างเคียงใดๆ ด้วย เนื่องจากเห็ดหลินจือเป็นสมุนไพรที่มีเพดานการบริโภคที่สูงมาก

        รศ.พญ.ดร. นริสา ได้ให้คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยโรคไตว่าผู้ป่วยจะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการ บริโภคและการดำเนินชีวิตโดยให้ความสำคัญในเรื่องอาหาร น้ำ อากาศ การออกกำลังกาย การกำจัดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ควรรับประทานอาหารที่มีโปรตีนในปริมาณที่จำกัด ควบคุมระดับไขมันในเลือดให้อยู่ในภาวะปกติ นอกจากนี้ควรรับประทานอาหารให้ครบ ๕ หมู่ ดื่มน้ำให้มากเพียงพอเพื่อไม่ให้ไตขาดเลือด ที่สำคัญคือควรงดสูบบุหรี่

  ทำไมเห็ดหลินจือถึงรักษาโรคไตอักเสบ ไตวายได้

       นพ. บรรเจิด ตันติวิท ได้เขียนหนังสือ "หลิงจือ กับ ข้าพเจ้า" ซึ่งอธิบายหลักการทำงานของเห็ดหลินจือ และประสบการณ์ในการรักษาเห็ดหลินจือให้แก่ผู้ป่วย ได้อธิบายถึงการทำงานของเห็ดหลินจือว่าทำไมถึงรักษาโรคไตอักเสบ ไตวายได้

ไต ที่อักเสบจะมีใยแผลเป็นที่ไต นานเข้าจะหดรัดไต ทำให้ไตเล็กลง รวมทั้งยังรัดเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงไต ทำให้ไตทำงานไม่ได้ ไตเกิดภาวะขาดเลือด

  เห็ดหลินจือช่วยรักษาโรคไตอักเสบ ไตวายได้ เพราะ

       เห็ด หลินจือจะช่วยละลายใยแผลเป็นให้ อ่อนตัว ไม่ให้ไปรัดเส้นเลือดที่เลี้ยงไต เพื่อให้เลือดไหลไปเลี้ยงไตได้ จึงทำให้ไตทำงานได้ดีขึ้น

       เห็ด หลินจือมีสารนิวคลีโอไชด์ มีคุณสมบัติละลายลิ่มเลือด ไม่ให้ลิ่มเลือดเกาะตัวง่ายจนทำให้เกิดการอุดตันของเส้นเลือด ช่วยทำให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น

       เห็ดหลินจือเป็นแอนติออกซิแดนต์สามารถขจัดอนุมูลอิสระได้

       เห็ด หลินจือมีโปรตีน Lz-8 ที่ปรับระบบภูมิคุ้มกันให้ทำงานเป็นปกติ รวมทั้งมีสารเยอรมาเนียมและสารโพลีแซคคาไรด์ที่ช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน ให้แข็งแรงอีกด้วย

ที่มา http://www.thaiherbweb.com ภาพคลิปจากอินเตอร์เน็ต

วันเสาร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2555

สมุนไพรที่มีสรรพคุณรักษาโรคเบาหวาน


สมุนไพรที่มีสรรพคุณรักษาโรคเบาหวาน

มาดูกันครับว่ามีอะไรบ้าง

เบาหวานสามารถแบ่งออกได้เป็น ๒ ชนิด

โรคเบาหวานชนิดที่ ๑ เกิดจากภูมิต้านทานของร่างกายทำลายเซลล์ตับอ่อนในส่วนที่ทำหน้าที่สร้างอินซูลินเป็นสาเหตุให้ร่างกายไม่สามารถสร้างอินซูลินหรือสร้างได้น้อยมาก ดังนั้นผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ ๑ จึงจำเป็นต้องฉีดอินซูลินตั้งแต่เริ่มเป็น จึงมักเรียกโรคเบาหวานชนิดนี้ว่าชนิดพึ่งอินซูลิน


โรคเบาหวานชนิดที่ ๒ เป็นเบาหวานที่พบมาก สาเหตุที่แท้จริงนั้นยังไม่ทราบชัดเจน แต่มีส่วนเกี่ยวข้องกับพันธุกรรม น้ำหนักตัวมาก ขาดการออกกำลังกาย มีลูกดก และวัยที่เพิ่มขึ้น เซลล์ของผู้ป่วยยังคงมีการสร้างอินซูลิน แต่อินซูลินไม่สามารถทำหน้าที่เป็นปกติได้


สมุนไพรรักษาเบาหวาน

วิธีการดูแลรักษาโรคเบาหวานที่สำคัญคือการคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหลายอย่าง เช่น การออกกำลังกายเพื่อให้อินซูลินทำงานได้ดีขึ้นและช่วยคุมน้ำหนัก การกินอาหารเพื่อให้ได้ทั้งพลังงานและผลดีต่อสุขภาพ การกินยาอย่างถูกต้องสม่ำเสมอและการใช้สมุนไพรอย่างถูกต้อง

ในส่วนการใช้ยาเม็ดลดน้ำตาลนั้น เป็นการรักษาเพื่อให้มีอินซูลินออกมาให้พอเพียงที่จะลดระดับน้ำตาลในเลือดลงมาสู่ปกติ แต่ไม่ได้เป็นการยับยั้งการดำเนินโรคของเบาหวาน ซึ่งจะมีการสร้างอินซูลินลดลงเป็นลำดับ จนกระทั่งไม่สามารถกระตุ้นให้มีการหลั่งอินซูลินออกมาได้เพียงพอที่จะลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ สุดท้ายต้องพึ่งการฉีดอินซูลิน

การแสวงหาทางออกเพื่อยืดระยะเวลาการไปถึงจุดนั้นจึงมีอยู่เป็นปกติของผู้ป่วยโรคนี้ เป็นเหตุให้สมุนไพรได้รับความนิยมจากผู้ป่วยเบาหวานทั้งหลาย รวมทั้งยังมีผู้คนอีกจำนวนมากเข้าใจผิดว่าโรคเบาหวานสามารถรักษาให้หายขาดได้ด้วยสมุนไพร

การใช้สมุนไพรนั้นมิใช่ว่าจะไม่มีประโยชน์เสียทีเดียว เนื่องสมุนไพรหลายชนิดมีรายงานการศึกษาว่ามีฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือด รวมทั้งยังพบประโยชน์ของสมุนไพรที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ลดไขมันในเลือด หรือช่วยให้มีการไหลเวียนของหลอดเลือดเล็กๆ ส่วนปลายดีขึ้น มีวิตามินและเกลือแร่ที่มีประโยชน์อีกด้วย

ดังนั้น การรู้เรื่องของโรคและรู้จักสมุนไพรให้ดีจะเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ทำให้คุณภาพชีวิตผู้ป่วยดีขึ้นและลดค่ายาแผนปัจจุบันที่ประเทศไทยต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ถือเป็นการช่วยชาติอย่างหนึ่ง แต่ขอย้ำว่าต้องอยู่บน “พื้นฐานของความรู้” ซึ่งมีหลักการเลือกใช้สมุนไพร ดังนี้

เป็นพืชผักที่กินกันอยู่แล้ว หาง่าย มีความปลอดภัยสูง
มีรายงานการศึกษาสนับสนุนว่าสามารถลดน้ำตาลในเลือดและมีส่วนช่วยคุมน้ำตาลของผู้ป่วยเบาหวาน
มีประโยชน์อื่นๆ นอกจากช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด เช่น มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ มีวิตามินและเกลือแร่ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยเบาหวาน
มีการยอมรับและใช้ระดับสากล แพร่หลายในตลาดอาหารสุขภาพ
จากหลักการดังกล่าวข้างต้น สมุนไพรที่มีความโดดเด่นมากที่สุดคือ มะระขี้นก ตำลึง และผักเชียงดา

มะระขี้นก
ขม ขรุขระ ชนะเบาหวาน

ชื่อวิทยาศาสตร์ Momordica charantia (L.)

วงศ์ Cucurbitaceae

ชื่ออื่นๆ ผักไห่ มะไห่ มะนอย มะห่วย ผักไซ (เหนือ) สุพะซู สุพะเด (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ผักไห (นครศรีธรรมราช) ระ (ใต้) ผักสะไล ผักไส่ (อีสาน) โกควยเกี๋ยะ โควกวย (จีน) มะระเล็ก มะระขี้นก (ทั่วไป) Bitter Cucumber

ลักษณะ เป็นไม้เลื้อยอายุปีเดียว มีมือเกาะเป็นเส้นยาวออกตรงข้ามใบ ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปฝ่ามือ กว้างและยาวประมาณ ๔-๗ เซนติเมตร ขอบใบเว้าเป็นแฉกลึก ๕-๗ แฉก เนื้อใบบาง ก้านใบยาว ดอกเป็นดอกเดี่ยวออกที่ซอกใบ แยกเป็นดอกตัวผู้ และดอกตัวเมียอยู่บนต้นเดียวกัน กลีบดอกสีเหลืองรูประฆัง ผลเป็นรูปรี หัวท้ายแหลม ผิวขรุขระ มีรสขมจัด ผลแก่จัดจะมีสีแดง มะระเป็นพืชที่ขึ้นง่ายตามป่า และสามารถนำมาปลูกเป็นพืชสวนครัวได้

การใช้ประโยชน์อื่นๆ มะระขี้นก เป็นผักพื้นบ้านของไทย คนไทยทุกภาคนำยอดอ่อนและผลอ่อนมาปรุงเป็นอาหารโดยนำมาลวกเป็นผักจิ้ม อาจจะนำไปผัดหรือแกงร่วมกับผักอื่นแต่นิยมลวกน้ำและเทน้ำทิ้งก่อนเพื่อลดความขม มีวิตามินเอและซีสูง ในส่วนของจีน พม่า อินเดีย แอฟริกาและอเมริกาใต้ก็กินเป็นผักเช่นเดียวกัน โดยอินเดียจะปรุงเป็นแกง ศรีลังกานำไปปรุงเป็นผักดอง อินโดนีเซียกินเป็นผักสด

การใช้ประโยชน์ทางยา มีการนำมาใช้รักษาโรคเบาหวาน พบในตำรับยาพื้นบ้านของทางอินเดียและศรีลังกา ซึ่งแพทย์แผนปัจจุบันในประเทศอินเดีย แพทย์แผนเดิมของพม่าและแพทย์จีน มีการสั่งจ่ายมะระขี้นกเป็นสมุนไพรเดี่ยวให้กับผู้ป่วยเบาหวาน

รายงานการศึกษาวิจัย

สรรพคุณลดน้ำตาลในเลือด มีรายงานการศึกษาที่ประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และอินเดีย พบฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดในสัตว์ทดลอง และผู้ป่วยเบาหวาน และสามารถชะลอการเกิดต้อกระจกซึ่งเป็นอาการแทรกซ้อนของโรคเบาหวานได้

จากผลการวิจัยสรุปว่ามะระมีกลไกการออกฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดได้หลายวิธี คือ ออกฤทธิ์คล้ายอินซูลิน ออกฤทธิ์เกี่ยวกับการหลั่งอินซูลินจากตับอ่อน ออกฤทธิ์ยับยั้งการสังเคราะห์กลูโคส และเพิ่มการใช้กลูโคสในตับ องค์ประกอบทางเคมีที่มีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดคือ อินซูลิน คาแรนทิน (charantin) และไวซีน (vicine)

ส่วนการทดลองทางคลินิกมีรายงานว่าน้ำคั้นจากมะระขี้นก ๕๐ มิลลิลิตร และ ๑๐๐ มิลลิลิตร เพิ่มความทนต่อน้ำตาลของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ ๒ ได้ และยังพบเช่นเดิมในผู้ที่กินผลมะระแห้ง ๐.๒๓ กิโลกรัมต่อวันเป็นเวลา ๘-๑๑ สัปดาห์ และกินผงมะระขี้นกแห้ง ๕๐ มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว ๑ กิโลกรัม เป็นเวลา ๗ วัน

ความเป็นพิษ การศึกษาด้านพิษวิทยาและความปลอดภัยของมะระขี้นก พบว่าเมล็ดมีสารโมมอร์คาริน (momorcharin) ประกอบที่เป็นพิษต่อระบบสืบพันธุ์ในสัตว์ทดลองคือ สารดังกล่าวมีฤทธิ์ทำให้แท้งในหนูถีบจักร ไม่มีพิษต่อเซลล์ แต่มีผลกระทบต่อเซลล์ของตัวอ่อนในระยะสร้างอวัยวะ ทำให้ส่วนหัว ลำตัว และขามีรูปร่างผิดปกติ แต่เมล็ดก็สามารถแยกส่วนออกไปได้ง่าย ดังนั้น จึงน่าจะมีความปลอดภัยในการนำมาใช้พอสมควร  

มะระขี้นกจึงเป็นพืชผักสมุนไพรตัวแรกที่ควรส่งเสริมให้ใช้เป็นสมุนไพรคู่ใจผู้ป่วยเบาหวาน จากการที่มีรายงานการศึกษาวิจัยถึงสรรพคุณการลดน้ำตาลในเลือดทั้งในสัตว์ทดลองและในคนเป็นจำนวนมาก และรูปแบบวิธีใช้ที่ให้ผลลดน้ำตาลในเลือดก็ไม่ซับซ้อน คือสามารถใช้ได้ทั้งน้ำคั้น ชงเป็นชา หรือกินในรูปแบบของแคปซูล ผงแห้ง ซึ่งจากประสบการณ์ของชาวบ้านไทยมีวิธีการใช้มะระขี้นกควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดดังนี้

ตัวอย่างตำรับยาเบาหวาน
ตำรับยา ๑ : น้ำคั้นสด
นำผลมะระขี้นกสด ๘-๑๐ ผล นำเมล็ดในออก ใส่น้ำลงไปเล็กน้อย ปั่นให้ละเอียด กรองกากออกจะได้น้ำดื่มประมาณ ๑๐๐ มิลลิลิตร (หรือกินทั้งกากก็ได้) กินทุกวันติดต่อกัน แบ่งกินวันละ ๓ เวลา
ตำรับยา ๒ : ทำเป็นชา
นำเนื้อมะระผลเล็ก (มีตัวยามาก) ผ่านำเมล็ดออก หั่นเนื้อมะระเป็นชิ้นเล็กๆ ตากแดดให้แห้ง แล้วนำมาชงกับน้ำเดือด (มะระ ๑-๒ ชิ้น น้ำ ๑ ถ้วย) ดื่มเป็นน้ำชา ครั้งละ ๒ ถ้วย วันละ ๓ เวลา หรือจะต้มน้ำดื่มก็ได้ หรือใส่กระติกน้ำร้อนต้มดื่มเป็นกระติกปริมาณมากก็สะดวกดื่มไปเรื่อยๆ แทนน้ำเป็นเวลาประมาณ ๓ สัปดาห์ ไม่เกิน ๑ เดือนก็เห็นผลให้
ตำรับยา ๓ : ทำเป็นแคปซูลหรือลูกกลอน
กินมะระขี้นก ๕๐๐-๑,๐๐๐ มิลลิกรัม วันละ ๑-๒ ครั้ง
ข้อควรระวังคือ คนท้อง เด็กและคนที่มีน้ำตาลในเลือดต่ำไม่ควรกิน

ผักตำลึง
ยาเบาหวาน คลานตามรั้ว

ชื่อวิทยาศาสตร์ Coccinia grandis (L.) Voigt, Coccinia cordifolia Gagnep

วงศ์ Cucurbitaceae

ชื่ออื่นๆ ผักแคบ (ภาคเหนือ) แคเต๊าะ (แม่ฮ่องสอน) ผักตำนิน (อีสาน)

การใช้ประโยชน์อื่นๆ

ตำลึงเป็นผักที่นิยมนำยอดมาลวกหรือนึ่ง เป็นผักจิ้มน้ำพริก หรือนำยอดอ่อน ใบอ่อนมาปรุงเป็นอาหารได้หลากหลาย เช่น แกงจืด แกงเลียง ใส่ก๋วยเตี๋ยว ผัดน้ำมัน ใส่ในแกงแค แกงปลาแห้ง ผลอ่อนนำมานึ่งกิน ดองกินกับน้ำพริกได้ ผลอ่อนที่ก้านดอกเริ่มจะหลุดกินสดได้กรอบอร่อย ไม่ขม เป็นยาบำรุงสุขภาพ รักษาปากเป็นแผล ผลอ่อนที่ยังหนุ่มๆ อยู่จะมีรสขมต้องคั้นน้ำเกลือให้หายขมก่อนนำมาแกง ส่วนผลสุกคนกินได้ สัตว์ก็ชอบกิน

นอกจากนี้ ตำลึงยังเป็นผักที่ใช้แทนผงชูรสได้ โดยนำใบทั้งแก่ทั้งอ่อนประมาณกำมือใส่ต้มไก่ ต้มปลา ต้มเป็ด จะมีรสชาติออกมาหวานนัวเหมือนกับใส่ผงชูรส

ตำลึงมีวิตามินเอสูงเหมาะกับผู้ป่วยที่มีอาการตามัวจากการขาดวิตามินเอ และเหมาะกับคนผิวแห้งไม่มีน้ำมีนวล เพราะนอกจากจะมีวิตามินเอสูงแล้วยังมีวิตามินบี ๓ ที่ช่วยบำรุงผิวหนังได้เป็นอย่างดี

ตำลึงเป็นผักที่อุดมด้วยวิตามินและแร่ธาตุ มากคุณค่าทางโภชนาการ ให้แคลเซียมสูงน้องๆ นม การกินผักตำลึงเป็นประจำจะช่วยให้ร่างกายแข็งแรง กระดูกแข็งแรง

การใช้ประโยชน์ทางยา

ตำลึงเป็นสมุนไพรที่นิยมใช้รักษาโรคผิวหนังพวกผื่นแพ้ ตำแย หมามุ่ย หนอนคัน บุ้ง หอยคัน มดคันไป ผื่นคันจากน้ำเสีย ผื่นคันจากละอองข้าว ผื่นคันชนิดที่ไม่รู้สาเหตุ เริม งูสวัด สุกใส หิด สิว ฝีหนอง เป็นต้น

ส่วนการกินตำลึงจะช่วยระบายท้อง ลดการอึดอัดท้องหลังกินอาหารเนื่องจากมีสารช่วยย่อยแป้ง และช่วยแก้ร้อนใน เป็นต้น

ที่สำคัญคือตำลึงเป็นยาพื้นบ้านใช้รักษาเบาหวาน ทั้งราก เถา ใบ ใช้ได้หมด มีสูตรตำรับหลากหลาย และในตำราอายุรเวทก็มีการใช้เป็นยารักษาเบาหวานมานานนับพันปี ชาวเบงกอลในอินเดียใช้ตำลึงเป็นยาประจำวันสำหรับแก้โรคเบาหวาน

รายงานการศึกษาวิจัย

สำหรับการรักษาเบาหวานด้วยตำลึงนั้น ปัจจุบันมีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับตำลึงจำนวนมากและเป็นสมุนไพรที่น่าเชื่อถือได้มากที่สุดตัวหนึ่ง จากการทบทวนผลการศึกษาวิจัยอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับสรรพคุณของสมุนไพรลดน้ำตาลในเลือดของทีมนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด พบว่าตำลึงและโสมมีหลักฐานสนับสนุนประสิทธิผลการลดน้ำตาลดีที่สุด

ตำลึงแสดงผลการลดน้ำตาลทั้งในคนและสัตว์ทดลอง

สรรพคุณของตำลึงที่ช่วยลดน้ำตาล คือ ใบ ราก ผล มีการศึกษาพบว่าการกินตำลึงวันละ ๕๐ กรัม (ครึ่งขีด) ทุกวันสามารถรักษาระดับน้ำตาลให้คงที่ได้
ข้อดีของตำลึงคือปลูกง่าย หาง่ายและราคาถูกกว่าโสมมากโดยเฉพาะในบ้านเรา

ตัวอย่างตำรับยาเบาหวาน
ตำรับ ๑ : นำรากผักตำลึง รากผักหวานป่า รากฟักข้าว รากกุ่มน้ำ รากุ่มบก ต้มกินติดต่อกันไปเรื่อยๆ
ตำรับ ๒ : ข้อรากผักตำลึงฝนกับน้ำดื่ม หรือใช้เถาผักตำลึงสับเป็นท่อนๆ ยาว ๒-๓ นิ้ว จำนวน ๑ กำมือ ใส่น้ำพอท่วม ต้มนาน ๑๕-๒๐ นาที นำมาดื่มเช้า-เย็น ติดต่อกันอย่างน้อย ๗-๑๐ วัน ช่วยลดน้ำตาลในเลือด หรืออาจใช้ส่วนของต้น ใบ และราก ต้มรวมกันแทนเถาอย่างเดียวก็ได้
ตำรับ ๓ : นำยอดตำลึง ๑ กำมือหรือขนาดที่กินพออิ่มโรยเกลือหรือเหยาะน้ำปลา (เพื่อให้อร่อยพอกินได้) ห่อด้วยใบตอง นำไปเผาไฟให้สุกแล้วกินให้หมด หรือกินจนอิ่ม กินก่อนนอนติดต่อกัน ๓ เดือน
 
ผักเชียงดา
เกิดมาฆ่าน้ำตาล

ชื่อวิทยาศาสตร์ Gymnema inodorum (Lour.) Decne.

วงศ์ Asclepiadaceae

ชื่ออื่น ผักจินดา ผักเซียงดา (เหนือ)
ลักษณะทั่วไป ไม้เถาเลื้อยยาว เถาสีเขียว ทุกส่วนมีน้ำยางสีขาวเหมือนน้ำนม ใบ เดี่ยว รูปกลมรี ท้องใบเขียวแก่กว่าหลังใบ ใบออกตรงข้อเป็นคู่ๆ
ดอกออกเป็นกระจุกแน่นสีขาวอมเขียว ดอกย่อยขนาดเล็ก ผลเป็นฝักคู่

การใช้ประโยชน์อื่นๆ

ยอดอ่อนและใบอ่อนของผักเชียงดา นำมากินเป็นผัก มีรสขมอ่อนๆ และมีสารต้านอนุมูลอิสระสูงมาก

ผักเชียงดานิยมนำมาปรุงอาหารรวมกับผักอื่นๆ เช่น ใช้อุ๊บรวมกับผักอื่น ผสมในแกงแค แกงเขียว แกงเลียง ต้มเลือดหมู ผัดรวมกับมะเขือ ไม่นิยมนำมาแกงหรือผัดเฉพาะผักเชียงดาอย่างเดียวเพราะรสชาติจะออกขมเฝื่อน (แต่ก็มีบางคนชอบ)

ปัจจุบันเริ่มมีเกษตรกรนำผักเชียงดามาปลูกเป็นแปลงขนาดใหญ่เพื่อเก็บยอดขายเป็นเชิงการค้า เช่น จังหวัดเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน และจันทบุรี สามารถพบผักเชียงดาขายอยู่ที่ตลาดในตัวเมืองเชียงใหม่

การใช้ประโยชน์ทางยา

ผักเชียงดาเป็นผักที่หมอยาพื้นบ้านใช้เป็นผักเพิ่มกำลังในการทำงานหนักและใช้เป็นยารักษาเบาหวานเช่นเดียวกับอินเดียและประเทศแถบเอเชียมานานกว่า ๒ พันปีแล้ว

ผักเชียงดาสามารถนำไปใช้ลดน้ำหนัก เพราะว่าผักเชียงดาช่วยให้มีการนำน้ำตาลไปเผาผลาญมากกว่าการนำไปสร้างเป็นไขมันสะสมอยู่ตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย และพบมีรายงานการศึกษาว่าผักเชียงดาสามารถช่วยลดน้ำหนักได้จริง

แคปซูลผักเชียงดายังมีวางขายในร้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ในรูปแบบผงแห้งที่มีการควบคุมมาตรฐานของกรดไกนีมิก (gynemic acid) ต้องมีไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๒๕ คือ ๑ แคปซูลส่วนใหญ่จะมีผงยาของเชียงดาอยู่ ๕๐๐ มิลลิกรัม

การศึกษาในคนพบว่าใช้สารออกฤทธิ์ประมาณ ๔๐๐-๖๐๐ มิลลิกรัมต่อวัน หรือประมาณ ๘-๑๒ กรัมของผงแห้งต่อวันโดยกินครั้ง ๔ กรัม วันละ ๒-๓ ครั้งก่อนอาหาร

รายงานการศึกษาวิจัย

นักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่าผักเชียงดามีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๖๙ และปี พ.ศ.๒๕๒๔ มีการยืนยันผลการลดน้ำตาลในเลือดและเพิ่มปริมาณอินซูลินในสัตว์ทดลองและในคนที่เป็นอาสาสมัครที่แข็งแรง พบว่าผักเชียงดาไปฟื้นฟูบีตาเซลล์ของตับอ่อน (อวัยวะที่สร้างอินซูลิน) ทำให้ผักเชียงดาสามารถช่วยคุมน้ำตาลได้ในคนเป็นเบาหวานทั้งชนิดที่ ๑ และชนิดที่ ๒

นอกจากนี้ ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๒๓ เป็นต้นมามีการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์ที่ค้นพบประสิทธิภาพ กลไกออกฤทธิ์ ในการลดน้ำตาลในเลือดและมีการศึกษาความเป็นพิษอย่างมากมาย ยกตัวอย่างเช่น การศึกษาที่มหาวิทยาลัยมาดราส ประเทศอินเดียโดยศึกษาผลของผักเชียงดาในหนูด้วยการให้สารพิษที่ทำลายบีตาเซลล์ในตับอ่อนของหนู พบว่าหนูที่ได้รับผักเชียงดา (ทั้งในรูปของผงแห้งและสารสกัด) มีระดับน้ำตาลในเลือดกลับมาเป็นปกติภายใน ๒๐-๖๐ วัน ระดับอินซูลินกลับมาเป็นปกติ และจำนวนของบีตาเซลล์เพิ่มขึ้น

ในปีเดียวกันนี้ มีการศึกษาผลของผักเชียงดาในผู้ป่วยโรคเบาหวานพบว่าผักเชียงดาสามารถลดการใช้ยารักษาเบาหวานแผนปัจจุบัน และบางรายสามารถเลิกใช้ยาแผนปัจจุบันโดยใช้แต่ผักเชียงดาอย่างเดียวสำหรับการคุมระดับน้ำตาลในเลือด

จากการศึกษานี้ ยังพบว่าปริมาณของระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสม (hemoglobin A1c) ลดลง (ปริมาณสารตัวนี้แสดงให้เห็นว่าการกินผักเชียงดาทำให้ระดับของน้ำตาลในเลือดในช่วง ๒-๔ เดือนที่ผ่านมามีความสม่ำเสมอ ถ้าลดลงแสดงว่าคุมระดับน้ำตาลได้ดี ซึ่งเป็นการลดโอกาสที่จะเกิดโรคแทรกซ้อน เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด จากการป่วยเป็นโรคเบาหวาน) และปริมาณอินซูลินเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับการรักษาเบาหวาน นอกจากปริมาณอินซูลินจะไม่เพิ่มขึ้นแล้วปริมาณของระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมยังเพิ่มขึ้นอีกด้วย

นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาพบว่าสารสกัดผักเชียงดาสามารถลดปริมาณการใช้อินซูลินได้ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ต้องพึ่งอินซูลินได้อีกด้วย
ในปี พ.ศ.๒๕๔๐ นักวิทยาศาสตร์ญี่ปุ่นได้ค้นพบว่าผักเชียงดาสามารถยับยั้งการดูดซึมของน้ำตาลจากลำไส้เล็ก

ปี พ.ศ.๒๕๔๔ นักวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัย Nippon Veterinary and Animal Science University ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่นได้ตีพิมพ์ผลงานวิเคราะห์สารบริสุทธิ์ (pure compound) ที่เป็นตัวออกฤทธิ์ในการลดน้ำตาลจากใบของผักเชียงดาโดยใช้วิธีเทียบเคียงสูตรโครงสร้างของสารออกฤทธิ์ตามธรรมชาติด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ด้วยเทคนิคที่เรียกว่า Structure-activity relationship (SAR) และได้ออกแบบสูตรโครงสร้างของสาระสำคัญ ๔ ตัว (GIA-1, GiA-2, GIA-5, และ GIA-7) ซึ่งพิสูจน์ฤทธิ์ในหนูทดลองแล้วว่าสามารถลดระดับน้ำตาลได้ จึงทำการสังเคราะห์สารสำคัญดังกล่าวขึ้นมา วิธีการนี้ได้สารออกฤทธิ์ที่แม่นยำและมีปริมาณสูง ช่วยลดปริมาณความต้องการใช้สารออกฤทธิ์ตามธรรมชาติจากใบของผักเชียงดาอย่างมาก

ปี พ.ศ.๒๕๔๖ นักวิทยาศาสตร์รายงานถึงผลของสารสกัดผักเชียงดาในหนูซึ่งนอกจากจะพบฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดและเพิ่มปริมาณอินซูลินแล้ว ยังลดปริมาณของอนุมูลอิสระในกระแสเลือดของหนูที่เป็นเบาหวานได้อีกด้วย ทั้งยังเพิ่มปริมาณของสารกลูตาไทโอน วิตามินซี วิตามินอี ในกระแสเลือดของหนูได้อีกด้วย และยังพบอีกว่าสารสกัดผักเชียงดามีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดสูงกว่ายาแผนปัจจุบันที่ใช้รักษาเบาหวานที่มีชื่อว่า ไกลเบนคลาไมด์ (glibenclamide)

นักวิทยาศาสตร์ได้มีการศึกษาความเป็นพิษของผักเชียงดาไม่พบความเป็นพิษแต่อย่างใด
ผักเชียงดาไม่ได้ลดน้ำตาลในเลือดในคน และถ้าใช้แต่ผักเชียงดาอย่างเดียวไม่ได้ทำให้น้ำตาลในเลือดต่ำแต่อย่างใดยกเว้นการใช้ร่วมกับยาแผนปัจจุบันที่ใช้ลดน้ำตาล

ตำรับยาแก้ไข้ แก้เบาหวาน
ใช้ราก เถา หรือใบ ตากแห้ง บด ชงเป็นชาดื่ม

วันอาทิตย์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2555

รักษาท้องผูกด้วยผลไม้สมุนไพร

รักษาท้องผูกด้วยผลไม้สมุนไพร

ท้องผูกต้องแก้ให้ถูกวิธี (ชีวจิต)

          ผู้ที่มีอาการท้องผูกมักจะรู้สึกไม่สบายท้อง บางรายอาจมีอาการคลื่นไส้เล็กน้อยร่วมด้วย เวลาเข้าห้องน้ำต้องออกแรงเบ่งมาก ซึ่งอาจทำให้เกิดความผิดปกติของระบบขับถ่าย เป็นริดสีดวงทวาร หรือแม้กระทั่งไส้ติ่งอักเสบ ที่สำคัญ อาการท้องผูกมักเป็นอาการหนึ่งเมื่อระบบลำไส้ใหญ่มีความผิดปกติ เช่น โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ริดสีดวงลำไส้ เป็นต้น



ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

          อาการท้องผูกส่วนใหญ่มาจากการมีพฤติกรรมการกิน การขับถ่ายและการใช้ชีวิตประจำวันผิด ๆ ลองปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามคำแนะนำต่อไปนี้ดูนะคะ

           1.ดื่มน้ำ กินผัก ผลไม้ทั้งสดและแห้ง หรืออาหารที่มีกากใยมาก ๆ รวมทั้งข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีท ถั่ว ฟักทอง ข้าวโพด เป็นต้น ซึ่งอาหารเหล่านี้จะช่วยเพิ่มเส้นใยช่วยการขับถ่ายได้
           2.ไม่ควรเร่งรีบในขณะที่กินอาหาร ควรเคี้ยวอาหารให้ละเอียด หรือกินมะละกอสุกก่อนอาหาร และดื่มน้ำตามมาก ๆ นักธรรมชาติบำบัดเชื่อว่า การกินอาหารจากธรรมชาติเป็นวิธีที่ดีกว่า ซึ่งอาจทำได้โดยการกินรำข้าวเสริม โดยโรยลงไปบนอาหาร

           3.ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อกระตุ้นการทำงานของกระเพาะอาหารและกล้ามเนื้อหลัง ซึ่งจะช่วยให้ลำไส้เคลื่อนไหวดีขึ้น
           4.อย่ากลั้นอุจจาระ ควรเข้าห้องน้ำทุกครั้งที่รู้สึกปวด หรือหลังจากที่กินอาหารเช้าที่เป็นธัญพืช โดยพยายามนั่งถ่ายอย่างผ่อนคลายประมาณ 10 นาที หรือฝึกนิสัยการขับถ่ายเป็นเวลาให้ตัวเอง
           5.สำหรับทารกหากมีอาการท้องผูก อาจเพิ่มน้ำตาลประมาณ 1 ช้อนชาในนม 1 ขวด จะช่วยให้ถ่ายบ่อยขึ้น แต่ถ้าให้น้ำตาลมากเกินไป อาจทำให้ท้องเสีย ส่วนในผู้สูงอายุควรถ่ายอุจจาระเป็นเวลา ถ้าจำเป็นอาจต้องให้ยาเพิ่มปริมาณอุจจาระ ยาระบาย ใช้ยาเหน็บ หรือสบู่เหน็บ จนกว่าการขับถ่ายเป็นปกติ
           6.ถ้าท้องผูกจนต้องเบ่ง และทำให้รู้สึกไม่สบาย อาจทำให้อุจจาระนุ่มลง โดยใช้ยาเหน็บกลีเซอริน (ขนาดสำหรับเด็ก) หรือสบู่ชิ้นเล็กยาว 13 มิลลิเมตร สอดเข้าทางทวารหนัก แต่ถ้าอาการไม่ดีขึ้นควรปรึกษาแพทย์ทันที

แก้ท้องผูกด้วยสมุนไพร
           มะขาม กินมะขามฝักแก่ หรือมะขามเปียก 10-20 ฝัก จิ้มเกลือ หรือคั้นเป็นน้ำดื่ม
           ขี้เหล็ก นำแก่น 50 กรัม ราก ลำต้น ดอก ใบ และผลของขี้เหล็ก รวมทั้งหมด 20-25 กรัม ไปต้ม เอาแต่น้ำ ดื่มก่อนอาหารหรือก่อนนอน
           มะเฟือง ขณะท้องว่างประมาณ 1 ชั่วโมง กินมะเฟืองที่มีรสเปรี้ยว 2-3 ลูก นอกจากจะเป็นยาระบายได้แล้ว มะเฟืองยังช่วยลดกรดในกระเพาะอาหารได้อีกด้วย
           เมล็ดชุมเห็ดไทย นำเมล็ดชุมเห็ดไทยประมาณ 1 กำมือ มาคั่วให้เหลือง แล้วนำมาต้มในน้ำสะอาดปริมาณ 1-2 แก้วจนเดือด นอกจากจะช่วยระบายท้องแล้ว เมล็ดชุมเห็ดไทยยังมีสรรพคุณช่วยให้นอนหลับสบาย

ดูแลตัวเองด้วยการแพทย์แผนไทย

          ศาสตร์ทางด้านการแพทย์แผนไทย ก็มีสูตรที่น่าสนใจให้ลองปฏิติบัติเช่นกันค่ะ
           1.รำข้าว สามารถดูดซับน้ำไว้ได้ถึงเก้าเท่าของน้ำหนักตัวมันเอง จึงช่วยให้ลำไส้เคลื่อนไหวได้ดี การเติมรำข้าวลงไปในอาหารจะช่วยให้ถ่ายสะดวก แต่ต้องดื่มน้ำตามให้มากขึ้น เพื่อช่วยให้ลำไส้ทำงานได้ดี ควรกินรำข้าววันละ 1-3 ช้อนโต๊ะ และดื่มน้ำตามเสมอ

           2.สำหรับการรักษาในระยะยาว ไม่ควรพึ่งรำข้าวเพียงอย่างเดียว เพราะรำข้าวมีส่วนประกอบบางอย่าง ที่ขัดขวางไม่ให้ร่างกายดูดซึมเกลือแร่บางชนิด และยังทำให้ท้องมีลมมากหรือท้องอืด แต่อาการนี้จะหายไปเองภายใน 1-2 สัปดาห์

           3.กินอาหารหมักดองต่าง ๆ เช่น ผักเสี้ยนดอง หน่อไม้ดอง หัวหอมดอง หรืออาหารหมักดองโบราณ ที่ใช้น้ำซาวข้าวในการดอง

ท่าแถม...ทำง่ายถ่ายคล่อง
          การรำกระบอง นอกจากจะสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของต่อมลูกหมากในผู้ชาย รังไข่ และมดลูกในผู้หญิงแล้ว ยังช่วยในเรื่องของระบบขับถ่ายได้อีกด้วย เนื่องจากจุดประสาทบริเวณก้นกบ จะบังคับระบบขับถ่าย การเคลื่อนไหวของกระเพาะปัสสาวะ และลำไส้ใหญ่
           1.ยืนตัวตรง กางขาเล็กน้อย
          
           2.นำกระบองไว้ด้านหลัง ลำตัวบริเวณบั้นเอว โดยใช้วงแขนสองข้างคล้องกระบองเอาไว้ ฝ่ามือประสานกันไว้ด้านหน้า หรือฝ่ามือแนบวางราบกับหน้าท้องก็ได้

           3.เขย่งให้ส้นเท้าขึ้นสูงสุดเท่าที่จะทำได้
           4.ลดตัวลงนั่ง โดยยังคงเขย่งส้นเท้าอยู่ ตามองตรง ไม่ก้มหน้า ไหล่ตรงผึ่งผาย ลำตัวตั้งตรง แล้วขย่มตัวให้ก้นแตะส้นเท้า 3 ครั้ง จากนั้นยืนขึ้น โดยเขย่งส้นเท้าอยู่ตลอดเวลา
           5.เมื่อตัวตั้งตรงแล้ว ลดส้นเท้าลงสู่พื้น นับเป็นหนึ่งครั้ง
           6.ทำซ้ำตั้งแต่ข้อ 3 - 5 ให้ครบ 30-50 ครั้ง

ที่มา kapook

วันพุธที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2555

มะพร้าวมีสรรพคุณเป็นสมุนไพรพื้นบ้าน



มะพร้าวมีสรรพคุณเป็นสมุนไพรพื้นบ้าน


สรรพคุณของมะพร้าว

- ธรรมชาติบำบัดถือว่า น้ำมะพร้าวเป็นน้ำผลไม้ที่ดีที่สุดชนิดหนึ่งมีแร่ธาตุที่ร่างกายต้องการครบถ้วน มีไขมันที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย และร่างกายสามารถดูดซึมไปใช้ประโยชน์ได้ภายใน 5 นาที และยังเป็นประโยชน์ในการขับสารพิษและชำระล้างร่างกายด้วย



- มะพร้าวมีลำต้นสูง ต้องผ่านการกลั่นกรองตามชั้นต่าง ๆ ของลำต้นมะพร้าวกว่าจะถึงลูกมะพร้าวที่อยู่ข้างบน น้ำมะพร้าวที่ได้มาจึงบริสุทธิ์มาก น้ำมะพร้าวหรือเนื้อมะพร้าวเป็นอาหารที่ดีที่สุดอย่างหนึ่งเพราะบริสุทธิ์และเต็มไปด้วยกลูโคสที่ร่างกายดูดซึมเข้าไปได้ง่าย นอกจากนี้ยังมีสารอาหารอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น แคลเซียม แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส โปรแตสเซียม ฯลฯ



- มะพร้าวเป็นผลไม้ที่มีด่างสูง น้ำมะพร้าวและกะทิสามารถรักษาโรคที่เกิดจากร่างกายมีความเป็นกรดมากเกินไปได้ คนไทยถือกันว่า มะพร้าวเป็นยาบำรุงกำลัง บำรุงเส้นเอ็น ใช้รักษาโรคกระดูกได้ ส่วนคนจีนเชื่อว่า มะพร้าวมีฤทธิ์เป็นกลางไม่เป็นทั้งหยินและหยางมีสรรพคุณในการขับพยาธิ

- สำหรับคนไข้ที่อาเจียนและท้องร่วงในเวลาเดียวกันให้ดื่มแต่น้ำมะพร้าวอย่าให้ทานอย่างอื่น เพราะร่างกายจะดูดซึมกลูโคสไปใช้ได้ในเวลาอันรวดเร็ว

- แม่ที่เพิ่งคลอดบุตรไม่มีน้ำนมเพียงพอให้ลูกกินสามารถให้น้ำมะพร้าวเสริมน้ำนมแม่ได้ เพราะมีความบริสุทธ์กว่านมผงหรือนมวัว ไม่มีสารเคมีเจือปนที่เป็นอันตรายต่อร่างกายของเด็ก ถ้าผู้หญิงคนไหนที่เป็นสิวหรือมีรอบเดือนติดต่อกันไม่หยุดให้กินแต่น้ำมะพร้าวอย่างเดียวครั้งที่ดื่มอาการเหล่านั้นอาจจะเพิ่มขึ้นแต่ก็เป็นสิ่งดีเพราะร่างกายถูกกระตุ้นให้ขับของเสียออกมา

- น้ำมะพร้าวดื่มได้ทุกวัน ทุกเพศทุกวัย เพราะเป็นเครื่องดื่มจากธรรมชาติ นอกจากจะมีประโยชน์แล้วยังทำให้ร่างกายสดชื่นไม่เป็นอันตรายเหมือนน้ำอัดลม อย่างไรก็ตามคนเป็นโรคไตและโรคเบาหวานไม่ควรดื่มน้ำมะพร้าว

- น้ำมะพร้าวเปิดลูกแล้วควรดื่มเลยไม่ควรทิ้งไว้นาน ถ้าเราตัดหรือหั่นผลไม้อย่าทิ้งไว้เกินครึ่งชั่วโมงแม้จะเก็บในตู้เย็นก็ตามควรกินให้หมดทีเดียว ผลไม้แต่ละอย่างมีพลังชีวิตถ้ากินผลไม้สุกจากต้นจะได้รับพลังชีวิตสูง หากเก็บทิ้งค้างไว้พลังชีวิตของผลไม้จะลดต่ำลงเรื่อย ๆ ตามระยะเวลาที่เก็บ

- ปัจจุบันหากต้องการดื่มน้ำมะพร้าวควรต้องระวังเรื่องสารฟอกขาวหากเป็นไปได้ควรซื้อเป็นทะลายมาจากสวนโดยตรง เมื่อต้องการดื่มค่อยตัดทีละลูกจากทะลาย

ประโยชน์ของมะพร้าว

- ในผลมะพร้าวอ่อนจะมีน้ำอยู่ภายในเรียกว่าน้ำมะพร้าว ใช้เป็นเครื่องดื่มเกลือแร่ได้เนื่องจากอุดมไปด้วยโพแทสเซียม นอกจากนี้น้ำมะพร้าวยังมีคุณสมบัติปลอดเชื้อโรคและเป็นสารละลายไอโซโทนิก (สารละลายที่มีความเข้มข้นเท่ากับภายในเซลล์ ซึ่งไม่ทำให้เซลล์เสียรูปทรง) ซึ่งด้วยเหตุนี้จึงสามารถนำน้ำมะพร้าวไปใช้ฉีดเข้าหลอดเลือดเวน (หลอดเลือดดำ) ในผู้ป่วยที่มีอาการขาดน้ำหรือปริมาณเลือดลดผิดปกติได้

- น้ำมะพร้าวสามารถนำไปทำวุ้นมะพร้าวได้ โดยการเจือกรดอ่อนเล็กน้อยลงในน้ำมะพร้าว
- เนื้อในของมะพร้าวแก่ นำไปทำกะทิได้ โดยการขูดเนื้อในเป็นเศษเล็ก ๆ แล้วบีบเอาน้ำกะทิออก
- กากที่เหลือจากการคั้นกะทิยังสามารถนำไปทำเป็นอาหารสัตว์ได้

- ยอดอ่อนของมะพร้าว หรือเรียกอีกชื่อว่า หัวใจมะพร้าว (coconut’s heart) สามารถนำไปใช้ทำอาหารได้ ซึ่งยอดอ่อนมีราคาแพงมาก เพราะการเก็บยอดอ่อนทำให้ต้นมะพร้าวตายด้วยเหตุนี้จึงมักเรียก ยำยอดอ่อนมะพร้าวว่า "สลัดเจ้าสัว" (millionaire's salad)

- ใยมะพร้าว นำไปใช้ยัดฟูก ทำเสื่อ หรือนำไปใช้ในการเกษตร
- น้ำมันมะพร้าว ได้จากการบีบหรือต้มกากมะพร้าวบด นำไปใช้ในการปรุงอาหารหรือนำไปทำเครื่องสำอางก็ได้และในปัจจุบันยังมีการผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันมะพร้าวอีกด้วย
- กะลามะพร้าว นำไปใช้ทำสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ เช่น กระบวย โคมไฟ กระดุม ซออู้ ฯลฯ
- ก้านใบ หรือทางมะพร้าว ใช้ทำไม้กวาดทางมะพร้าว
- จั่นมะพร้าว(ช่อดอกมะพร้าว)ให้น้ำตาล



ขอขอบคุณข้อมูลจาก samunpri เเละ คลิปจาก youtube

ดอกไม้ที่นำมาทำเป็นสมุนไพร

ดอกไม้ที่นำมาทำเป็นสมุนไพร


ดอกไม้ นับวันดอกไม้ไทยก็จะหาดูได้ยาก มีอยู่บางชนิดเท่านั้นที่ยังคงปลูกเอาไว้ เป็นไม้ประดับ บางชนิดเป็นต้นไม้ใหญ่ ต้องปลูกไว้ในสวน ถ้าไม่มีดอกก็ดูไม่ออกว่าเป็นต้นอะไร จึงขอรวบรวมไม้ไทยที่รู้จัก นอกจากจะมีดอกสวยมีกลิ่นหอมแล้ว ยังมีสรรพคุณทางยารวมอยู่ด้วย เพื่อเป็นความรู้ให้ประโยชน์กับชีวิตประจำวัน


ดอกกระดังงาไทย เป็นไม้ยืนต้น ใบเขียวและโต ดอกออกเป็นกลีบ ๆ ยาวและอ่อน เกสรกลางแบนสีเขียว ๆ เหลือง กลิ่นหอม ประโยชน์ทางยา ใบและเนื้อไม้ ดอก ต้มรับประทานเป็นยาขับปัสสาวะ ดอกปรุงเป็นยาหอมแก้ลม วิงเวียน ชูกำลังทำให้ใจชุ่มชื่น นำดอกมาลนไฟใช้อบขนมไทยให้หอม




ดอกกระถินขาว เป็นต้นไม้ยืนต้นขนาดย่อย ใบเล็กเป็นฝอย ดอกขาวกลมเท่าใบพุทรา ดอกใช้เป็นยาบำรุงตับ แก้เกล็ดกระดี่ขึ้นที่ตา

ดอกขจร เป็นไม้เถาเลื้อย มีสรรพคุณทางยา ใช้รากผสมยาหยอดรักษาตา รับประทานทำให้อาเจียน ถอนพิษเบื่อเมา ทำให้รู้รสอาหาร ดับพิษ ทำอาหาร

ดอกขี้เหล็ก ต้นขี้เหล็กเป็นต้นไม้ขนาดใหญ่ ราก ลูก ดอก ใบ รวมกัน รับประทานเป็นยาถ่ายพิษ กษัย พิษ ไข้ พิษเสมหะ เหน็บชา

ดอกข้าวสาร เป็นต้นไม้ปลูกประดับลงดิน กลางแจ้ง ให้เลื้อยพันรั้ว รากใช้ทำยาหยอดตา แก้ตาฝ้า ตามัว ตาแดง เข้ายาถอนพิษ ยาเบื่อเมา ดอกนำมาทำแกงส้มได้

ดอกเข็มขาว เป็นต้นไม้พุ่ม ใช้ดอกใส่พานบูชาพระ ให้ประโยชน์ในทางยา รากมีรสหวาน รับประทานแก้โรคตา เจริญอาหาร

ดอกเข็มแดง เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ให้ประโยชน์ทางยา รากแก้เสมหะ แก้กำเดา บำรุงไฟธาตุ แก้บวม แก้ตาพิการ ดอกนำมาชุปแป้งทอดเป็นเหมือดในขนมจีนน้ำพริก

ดอกแค เป็นต้นไม้ขนาดกลาง ใบเล็กกลมยาวเป็นคู่ ๆ ดอกคล้ายดอกถั่ว ใช้ดอกใบ เปลือก ราก เป็นยา ดอกนำมาต้มจิ้มน้ำพริก ทำแกงส้ม ประโยชน์ในทางยา เปลือกนำมาต้ม คั้นน้ำ แก้ท้องร่วง แก้บิด แก้มูกเลือด คุมธาตุ

ดอกการะเกด เป็นพวกเตย ลำเจียก มีดอกพุ่มแลบออกมาตามกลีบต้น

ดอกกาหลง ดอกขาวใหญ่ ขนาด 5-8 ซ.ม. ดอกเป็นช่อแบน ช่อละ 3-10 ดอก กลิ่นหอมเย็น ดอกใช้แก้ปวดศรีษะ ลดความดันโลหิต แก้โรคโลหิตออกตามไรฟัน แก้เสมหะพิการ

ดอกกรรณิการ์ ดอกสีขาวคล้ายดอกพุดฝรั่ง ออกเป็นช่อ ก้านดอกสีแดง สีส้ม สีจากก้านดอกคั้นเอาน้ำไปทำสีขนม และย้อมผ้าได้ ต้มดื่มแก้ปวดศรีษะ ใบใช้บำรุงน้ำดี ดอกใช้แก้ไข้ แก้ลม แก้ผมหงอก น้ำที่ต้มดอกกรรณิการ์ อาบบำรุงผิวหนังให้สดชื่น ต้นและราก มีรสหวานและฝาด ต้มหรือฝนผสมน้ำสำหรับจิบแก้ไอ

ดอกแก้ว ดอกเล็กสีขาวสะอาด มีกลีบ 5 กลีบ เกสรสีขาวปนเหลืองหอม กลิ่นแรง ผลคล้ายมะแว้งลูกเขื่อง ๆ เป็นยาขับประจำเดือน เรียกว่ายาประสะใบแก้ว ใช้เป็นยาแก้จุกเสียดแน่นเฟ้อ ผายลม บำรุงโลหิต
ดอกกฤษณา ดอกใหญ่เป็นช่อ ดอกมีกลิ่นหอม บำรุงโลหิต หัวใจ ทำให้ตับและปอดเป็นปกติ ใช้เป็นเครื่องปรุงยาหอม แก้ลม หน้ามือวิงเวียน ผสมเครื่องหอมทุกชนิด เช่น ธูปหอม น้ำอบไทย น้ำมันจากเมล็ด รักษาโรคเรื้อน และโรคผิวหนัง

ดอกคัดเค้า มีสรรพคุณในทางยา มีรสฝาด แก้โลหิตเป็นพิษ และขับเสมหะ แก้ไข้ ใช้ใบแก้โลหิตซ่าน ดอกแก้โลหิตในกองกำเดา ผลใช้ขับโลหิต ประจำเดือน ต้นใช้บำรุงโลหิต รากแก้วต้ม แก้โลหิตออกตามไรฟัน ผลใช้ต้มดื่ม ขับฟอกโลหิตเน่าเสียของสตรี และใช้เป็นยาบำรุงโลหิต

ดอกบัวหลวง มีทั้งสีชมพูและสีขาว ใช้บูชาพระ เมล็ดทั้งอ่อนและแก่รับประทานได้ เมล็ดบัวทำอาหารทั้งของหวานและของคาว เมล็ดบัวแก่จัดนำมาทำแป้งขนม รากและเหง้า เอามาต้มน้ำดื่ม แก้ร้อนใน ในทางยา ใช้เกสรเหง้า และเมล็ดบัวเป็นเครื่องสมุนไพร เป็นยาบำรุงกำลัง แก้ร้อนใน แก้กระหายน้ำ แก้เสมหะ แก้พุพอง
ดอกลำเจียก ดอกโตมีเกสรอยู่กลางรอบนอก คล้ายใบอ่อน มีสีขาวหุ้มอยู่ มีกลิ่นหอมเย็น มีชื่อเรียกลำจวน รัญจวน ปาหนัน ใบไม้จำพวกเตยใบใหญ่ รากแก้พิษไข้ พิษเสมหะ พิษโลหิต ขับปัสสาวะ หนองใน มุตกิด แก้นิ่ว

ดอกเล็บมือนาง มี 3 สี ขาว ชมพู และแดง ใบและต้นขับพยาธิ ตาน ทราง ผล รับประทานทำให้หายสะอึก รากปรุงเป็นยาขับไส้เดือน แก้อุจจาระเป็นฟอง และโลหิตขาวมีกลิ่นเหม็นคาว ใบใช้โขลกพอแหลก คั้นเอาน้ำชโลมทาแผล ฆ่าเชื้อโรคสำหรับเด็ก นิยมปลูกริมรั้วเพื่อดูดอกสวย

ดอกสารภี ดอกเป็นช่อมีกลิ่น สีขาว เกสรสีเหลือง ใช้ดอกปรุงเป็นยาหอม แต่กลิ่นเป็นยาบำรุงหัวใจ ทำให้ชุ่มชื่น เป็นยาชูกำลัง

ดอกเบญจมาศ กลีบดอกเป็นฝอย มีหลายสี ทั้งดอกขนาดใหญ่และขนาดเล็ก นำมาตากแห้ง ใช้ชงน้ำ มีกลิ่นหอม ดื่มแก้กระหายน้ำ คล้ายดอกไม้ที่คนจีนเรียกเก๊กฮวย

ดอกประยงค์ ดอกกลมเล็กคล้ายเมล็ดไข่ปลา หรือสาคู มีสีเหลืองสดมีกลิ่นหอมแรง รากใช้เป็นยา ทำให้อาเจียน ถอนพิษ เมื่อมีอาการเมา

ดอกจำปา ดอกเป็นกลีบยาว สีเหลืองจัด สีส้มหรือสีแดง มีกลิ่นหอม ดอกมีรสขม เปลือก ราก ใช้รักษาโรคเรื้อน หิด ฝีที่มีหนอง ดอกและเมล็ดใช้ทำยาแก้ไข้ แก้โรคธาตุเสีย คลื่นเหียน อาเจียน วิงเวียนศรีษะ
ดอกสร้อยฟ้า หรือดอกสร้อยอินทนิล เป็นดอกสีฟ้า เป็นดอกสีฟ้า เป็นไม้เถาออกดอกเป็นช่อย้อย
ดอกวัลย์ชาลี หรือวัลย์ชาลี ชิงช้าชาลี ดอกสีเหลืองเป็นช่อเล็ก ๆ สกุลเดียวกับบอระเพ็ด ต้นมีรสขม แก้ฝีดาษ แก้ไข้เหลือง แก้ฝีกาฬ แก้ไข้ บำรุงกำลัง บำรุงไฟธาตุ เจริญอาหาร ใบฆ่าพยาธิ แก้มะเร็ง ดอกใช้ขับพยาธิในท้อง ในฟัน ในหู ใบสดนำมาต่ำพอกฝี ทำให้เย็น แก้ปวด ถอนพิษ ดับพิษทั้งปวง แก้กระหายน้ำ ขับน้ำย่อยอาหาร

ดอกตาเสือ หรือมะหัวกาน (พยัพ) ดอกมีสีเหลืองคล้ายดอกประยงค์ มีกลิ่นหอม ไม้ตาเสือมีรสฝาด เปลือกใช้แก้พิษเสมหะ และขับโลหิต ผลใช้แก้ปวดตามข้อ ใบใช้ แก้บวม

ดอกบานเย็น ลักษณะดอกยาว เป็นปากแตรเล็ก มีสีเหลืองแดงและขาว บานตอนเย็น ดอกขยี้ทาหน้าแก้สิว บานเย็นดอกขาวใช้เป็นเครื่องสำอางบำรุงผิว ชาวจีนเรียก ตีต้าเช้า ปรุงเป็นยาขับเหงื่อ แก้ไข้ ระงับความร้อน

ดอกพิกุล ดอกเล็ก ๆ มีสีขาวสะอาดตา ริมดอกหยัก บานเวลาใกล้รุ่ง มีกลิ่นหอมแรง ทนทาน แม้ดอกจะเหี่ยวแห้งแล้ว ดอกแห้งเป็นสีน้ำตาลอ่อน ออกดอกตลอด ทั้งปี ใช้ปรุงเครื่องหอมอบผ้า

ดอกนางนวล ดอกมีสีแดงแกมขาว ลูกเป็นหนามเหนียว ใบต้มเป็นยา จิบแก้ไอ ดับพิษเสมหะ รากเป็นยาถอนพิษ แก้ไข้ ต้นและใบเป็นยาขับปัสสาวะ แก้ไตพิการ

ดอกนางแย้ม ดอกสีขาว ซ้อนหลายชั้น กลีบดอกสีม่วง มีกลิ่นหอมแรง รากใช้แก้พิษ ฝีภายใน ขับปัสสาวะ แก้โรคลำไส้ ไตพิการ